การบริหารงานขนส่งสำหรับหัวหน้างาน (Transportation management for supervisor)
บทบาทของหัวหน้างานต่อความสำเร็จขององค์กร (Role of Supervisor towards organization success)
โดย คุณ จำเรียง วัยวัฒน์ CEO บริษัท เอ็กซเพรส เน็ตเวิร์ค เซอร์วิส จำกัด
และเลขาธิการสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต
บทบาทของหัวหน้างาน
- ยึดมั่นในพันธะ(Commitment)
- คงเส้นคงวา (Consistence)
- ความสามารถที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Complexity)
- ความศรัทธา (Credibility) และภาพพจน์ (Image)
บทบาทของหัวหน้างานกับความสำเร็จขององค์กร นั้นจะต้องประกอบไปด้วย
- ภาวะผู้นำ (Leaders)
- หน้าที่และบทบาทของผู้นำ
- การสื่อสาร
- การสร้างแรงจูงใจ
แนวความคิดการจัดการโลจิสติกส์ และความสำคัญของกระบวนการโลจิสติกส์ กับบริหารงานขนส่ง(Logistics Process and transport Management) โดย คุณ โภคทรัพย์ พุ่มพวง รองผู้จัดการทั่วไปฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เบอร์ลี่ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ จำกัด
และ อุปนายก สมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต
ในปัจจุบันแนวความคิดด้านการจัดการระบบโลจิสติกส์นั้นได้เน้นหรือให้ความสำคัญไปที่ การบริหารต้นทุนโลจิสติกส์ โดยที่ผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและใหญ่นั้นต่างก็คำนึงถึงการลดต้นทุน โลจิสติกส์ ซึ่งต้นทุนโลจิสติกส์นั้นประกอบไปด้วยต้นทุนต่างๆ ดังนี้
% of sales
- Transportation cost 3.5%
- Warehousing 2.4%
- Inventory carrying cost 2.0%
- Administration 0.9%
- Order entry 0.8%
Total Logistics cost 9.6%*
หมายเหตุ :ข้อมูลจากประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2003
จะเห็นได้ว่าต้นทุนการขนส่งนั้นเป็นต้นทุนที่มีสัดส่วนมากที่สุดในต้นทุนโลจิสติกส์ นั่นคือ 3.5%
จาก 9.6% ดังนั้นการบริการการขนส่งนั้นจึงเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการบริการต้นทุน โลจิสติกส์
จาก 9.6% ดังนั้นการบริการการขนส่งนั้นจึงเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการบริการต้นทุน โลจิสติกส์
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการบริการงานขนส่งปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการบริการงานขนส่ง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์(Product factor) และปัจจัยด้านตลาด (Market factor) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Product factor) ได้แก่
• ความหนาแน่น (Density) กล่าวคือ สินค้าที่มีความหนาแน่นมาก เช่นเหล็ก เป็นต้น ก็จะทำให้สามารถบรรทุกสินค้าได้ปริมาณน้อย ทำให้มีพื้นที่บางส่วนเหลือว่างอยู่ ดังนั้นการบริหารการขนส่งที่ดีที่สุดคือ การนำสินค้าที่มีความหนาแน่นต่ำ เช่น นุ่น มาบรรทุกเพิ่มเพื่อทำให้การใช้พื้นที่นั้นเกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการลดรอบในการบรรทุกสินค้าอีกด้วย
• คุณสมบัติในการบรรทุก (Stow ability) กล่าวคือ การบรรทุกสินค้านั้นจะต้องทำการจัดสรรพื้นที่การวางสินค้าให้มีการบรรทุกสินค้าให้ได้มากที่สุด• ความยากง่ายในการลำเลียงสินค้า (Ease or difficulty of handling) กล่าวคือ หากสินค้ายังอยู่ในสภาพที่ไม่สะดวกในการขนถ่าย ก็ควรจะทำบรรจุภัณฑ์ให้มีความเหมาะสม เพื่อความสะดวกในการขนส่งสินค้านั้นๆ
• ความรับผิดชอบ ในตัวสินค้า (Liability) กล่าวคือ การขนส่งสินค้าบางประเภทนั้นอาจต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบในตัวสินค้านั้น เนื่องจากสินค้านั้นอาจเป็นสินค้าอันตราย ยกตัวอย่างเช่น น้ำมัน เป็นต้น ดังนั้นการบริหารการขนส่งที่ดีนั้นควรจะมีการทำประกันภัยตัวสินค้า เพื่อที่จะเป็นการลดความเสี่ยง และความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ปัจจัยด้านตลาด (Market factor) ได้แก่
• สภาพการแข่งขัน (Degree of Competition) กล่าวคือ
• ตำแหน่งที่ตั้งของตลาด (Location of market)
• ความสมดุลของปริมาณสินค้าขาไปและขากลับ (Balance or imbalance of freight traffic)
• ช่วงฤดูกาล (Seasonality)
• การเคลื่อนย้ายสินค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ (International vs Domestic Movement)
ระดับการบริหารงานด้านการขนส่ง
ระดับการบริหารงานด้านการขนส่งนั้น แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
1. ระดับกลยุทธ์ (Strategic)
o Transportation mode
o Investment
2. ระดับยุทธวิธี (Tactical)
o Carriers
o Networking
o Manpower
3. ระดับปฏิบัติการ (Operational)
o Routing & Scheduling
o Daily Execution
ซึ่งทั้ง 3 ระดับนี้นั้นจะวัดผลในเรื่อง Cost & Performance
ประเภทของการขนส่ง
การขนส่งนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. การขนส่งทางถนน
2. การขนส่งทางเรือ
3. การขนส่งทางอากาศ
4. การขนส่งทางราง
5. การขนส่งทางท่อซึ่งการขนส่งแต่ละประเภทนั้นก็จะมีโครงสร้างต้นทุนที่แตกต่างกันไป ดังนี้

คุณลักษณะของการให้บริการของการขนส่งแต่ละประเภทนั้น สามารถอธิบายได้ดังนี้

Remarks; 1 = Best , 5 = Worst
จากตารางจะเห็นว่าการขนส่งทางถนนนั้นมีลักษณะในด้านการบริการที่ดีที่สุดไม่ว่าจะเป็นในด้านความรวดเร็ว ,ความยืดหยุ่น เป็นต้น ทำให้การให้บริการการขนส่งทางถนนนั้นเป็นประเภทการขนส่งที่นิยมมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งรายละเอียดเรื่องการขนส่งโดยรถบรรทุกนั้นสามารถ กล่าวได้ ดังนี้o การขนส่งโดยรถบรรทุกนั้นเป็นประเภทการขนส่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุด (มากกว่า80%)
o เป็นการให้บริการการขนส่งที่เป็นแบบ Door to door services นั่นคือสามารถขนส่งสินค้าจากโรงงานของผู้ส่งสินค้าไปยังหน้าโรงงานหรือสถานที่ของผู้รับสินค้าได้เลย
o การขนส่งมีความรวดเร็วo สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่าย
o มีความยืดหยุ่น ในเรื่องการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่ง ซึ่งในอุตสาหกรรมการให้บริการขนส่งทางถนนนั้น สามาถแยกประเภทของรถได้ดังนี้

ผู้ให้บริการการขนส่งโดยรถบรรทุกนั้น จะมีรถอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆได้แก่
1. รถที่ทำการจ้างบริษัทอื่นมาวิ่งให้ (Outsource)
2. รถของตนเอง (Private)และบริษัทที่จัดการว่าจ้างบริษัทอื่นมาวิ่งรถให้นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ นั่นคือ การว่าจ้างรถทั่วไป (Common) และแบบการทำสัญญาว่าจ้าง ซึ่งในกรณีนี้นั้นจะมีการตกลงเงื่อนไขและข้อห้ามต่างๆ รวมถึงมีการระบุอัตราค่าจ้างด้วย ส่วน Exempt นั้นจะเป็นลักษณะของการมีรถแบบลูกผสม (Hybrid) ระหว่าง การมีรถเป็นของตัวเอง และ การเช่ารถ
โครงสร้างต้นทุนด้านการขนส่ง ต้นทุนการขนส่งนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) เช่น ค่าเสื่อมราคา , ดอกเบี้ย , ค่าเช่า , ภาษี ,ค่าเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น
2. ต้นทุนผันแปร เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ,ค่ายาง , ค่าบำรุงรักษา ,ค่าทางด่วน เป็นต้น
3. ต้นทุนอื่นๆ เช่น ต้นทุนในการบริหารจัดการ , ค่าอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ ,ค่าเบ็ดเตล็ด เป็นต้น
โครงสร้างต้นทุนด้านการขนส่ง (Cost structure of freight transport)โดย คุณเกียรติพงษ์ สันตะบุตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท วินโคสท์ โลจิสติกส์ และ กรรมการสมาคมไทยโลจิสติกส์ และการผลิต
การบริหารการขนส่งเพื่อลดต้นทุนค่าขนส่งนั้นสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่
1. การกระจายสินค้าผ่านศูนย์กระจายสินค้า กล่าวคือ เป็นการลดจำนวนรอบในการส่งสินค้าลง รวมไปถึงการทำงานที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้นดังรูป

ณ ร้านค้าปลีก E จะมีการตรวจรับสินค้าถึง 3 ครั้ง ในขณะที่การขนส่งสินค้าผ่านศูนย์กระจายสินค้า จะลดงานที่เกิดที่ร้านค้าปลีก E ลงเหลือเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
2. การขนส่งสินค้าแบบ Milk Run Milk Run เ
ป็นรูปแบบการจัดการงานจัดส่งที่บริหารโดยทางบริษัทผู้ผลิต ทำการสั่งซื้อวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนเพื่อนำไปใช้ทำการประกอบ ซึ่งความสามารถในการบรรทุก ในการออกแบบ Supply Part ของ Milk Run Delivery System จะต้องยึดหลักทางด้านการเคลื่อนย้ายหรือจัดส่ง (Logistics) โดยมีหัวข้อหลักดังนี้
- Cyclic Rotation รูปแบบการจัดส่งจะต้องเป็นลักษณะวงรอบ สามารถหมุนเวียนได้
- Short Lead-Time ในการ Supply Part จะต้องสั้นมาก แม่นยำกับการผลิตที่แท้จริง
- High Loading Efficiency มีขีดความสามารถสูงในรถบรรทุก
- Flexible to Change สามารถยืดหยุ่นในรูปแบบการจัดส่งได้

3. การขนส่งสินค้าแบบมีเที่ยวกลับ (Back haul) คือการขนส่งสินค้าที่ลดเที่ยวเปล่าหรือขากลับ โดยรถจะบรรทุกสินค้าไปส่งให้กับลูกค้าA และไปรับวัตถุดิบต่อที่supplier B เพื่อลดการวิ่งรถเที่ยวเปล่ากลับมา ซึ่งการขนส่งโดยวิธีนี้นั้นจะสามารถลดต้นทุนการขนส่งได้
4. การขนส่งสินค้าแบบ (Hook drop) เป็นการขนส่งสินค้าแบบลากวาง โดยเป็นการบริหารรถหัวลาก กับตู้เทรเลอร์แยกกัน ยกตัวอย่างบริษัทที่มีการบริหารการขนส่งลักษณะนี้ในปัจจุบัน ได้แก่ เทสโก้ โลตัส ซึ่งเทสโก้ มีตู้ขนสินค้า 400 ตู้ ซึ่งบริษัทเป็นผู้ลงทุนเอง ส่วนรถหัวลากเป็นการsubcontract จากบริษัทเอกชน ซึ่งมีรถหัวลากอยู่ 150 คัน ดังนั้นเพื่อให้รถหัวลากและตู้สินค้าไปถึงสโตร์แต่ละแห่งทั่วประเทศทันกำหนด รถหัวลากจะขนตู้สินค้าไปไว้ที่สโตร์ และวิ่งกลับทันทีโดยไม่รอขนสินค้าลง
ปัจจุบันแนวคิดการว่าจ้างบริการโลจิสติกส์จากภายนอก นั้นเป็นได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน แต่ก็จะเกิดคำถามที่วา “เมื่อใดจึงจะตัดสินใจใช้ Logistics outsourcing” คำตอบก็คือ เมื่องานนั้นมีผู้ที่มีความถนัดในงานนั้นๆมากกว่าเรา แต่ก็ยังมีแนวคิดอีกแนวคิดหนึ่งในการที่จะยังคงบริหารจัดการระบบโลจิสสติกส์เอง โดยไม่สนใจที่จะว่าจ้างบริการโลจิสติกส์จากภายนอก ได้แก่
1. องค์กรหรือบริษัทนั้นๆ กลัวที่จะเสียการควบคุมในการบริหารจัดการไป
2. หากทำการบริหารจัดการเองจะสามารถประหยัดต้นทุนได้มากกว่า
3. การบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์เป็นขีดความสามารถหลักขององค์กรการ
วัดผลงานการปฏิบัติงานการขนส่ง
• การส่งมอบตรงเวลา (On-time delivery)
• ความพร้อมของยานพาหนะเพื่อที่จะใช้งาน (Truck availability)
• การใช้ประโยชน์จากระวางรถบรรทุก (Space utilization)
• การปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย (Safety Performance)
• การส่งคืนใบส่งมอบสินค้าได้ตรงเวลา (On-time POD return)
• สินค้าสูญหายหรือชำรุดระหว่างการขนส่ง (Loss and damage)
• ข้อร้องเรียนของลูกค้า (Customer complaint)
• การส่งรายงานตรงเวลา (Punctual reporting)
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานขนส่ง Application of Information Technology towards Transport Management) โดย คุณ ศรัณย์ บุญญะศิริ กรรมการบริษัท เอเอ็มพี พัฒนา จำกัด และ รองเลขาธิการ กรรมการสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานขนส่ง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ นั่นคือ การประยุกต์ใช้ในระดับ Micro และ Macro
การใช้งานในระดับ Micro

- การเชื่อมโยงในมิติเดียว- การบริหารจัดการภายในองค์กร- การเชื่อมโยงกับ ERP (Enterprise Resource Planning)- การเชื่อมโยงเพื่อการ Outsource
การใช้งานในระดับ Macro
ซึ่งวัตถุประสงค์ในการนำระบบITมาใช้ในกระบวนการโลจิสติกส์นั้น มีดังนี้
• ลดต้นทุน : การขนส่ง , คลังสินค้า , สินค้าคงคลัง , และความเสียหายต่างๆ
• เพิ่มประสิทธิภาพ
• เพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า
ยกตัวอย่างเครื่องมือทางเทคโนโลยีในระบบโลจิสติกส์
1. โปรแกรมการจัดวางสินค้า (Load Configuration Software)
2. โปรแกรมการวางแผนเส้นทางการขนส่ง (Route Planning Software)
3. โปรแกรมควบคุมการปฏิบัติการของพนักงานขับรถ (Driver-Control Operation) เป็นต้น
ความปลอดภัยและการบริหารพนักงานขับรถในการขนส่ง (Transport Safety and Driver Management) โดย คุณวุฒิศักดิ์ อภิชัยชาญกิจ ผู้จัดการการขนส่ง บริษัท เอส เอ็ม ซี โลจิสติกส์ จำกัด
ความปลอดภัยในการบริหารจัดส่งนั้นส่วนสำคัญอยู่ที่พนักงานขับรถ ดังนั้น การควบคุมความปลอดภัย จากการขนส่งนั้นจะต้อง
1. ผู้บริหารระดับสูงจะต้องเข้มงวด
2. ประกาศนโยบายหรือกฎระเบียบที่ชัดเจน
3. มีมาตรการลงโทษเมื่อทำผิด และให้รางวัลเมื่อทำดี
4. มีการรณรงค์ส่งเสริมเรื่องขับรถอย่างปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
5. จัดให้พนักงานขับรถได้รับการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งหลักสูตรในการอบรมพนักงานขับรถที่น่าสนใจนั้นได้แก่ การขับขี่ปลอดภัย หรือการขับรถ
ป้องกันอุบัติเหตุ นอกจากนี้การติดตามและดูแลการปฏิบัติงานในงานขนส่งนั้นควรจะมี
การประชุมพนักงานขับรถ และมี Safety talk เป็นประจำทุกเดือน มีการจัดทำ Route survey
ในเส้นทางขนส่งเพื่อระบุจุดอันตราย และควรจะนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้ามาช่วย
ในการบริหารจัดการงานขนส่งอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ระบบ GPS ระบบ Tracking เป็นต้น
ที่มา
ศูนย์อีซูซุเพื่อสนับสนุนโลจิสติกส์ Isuzu Logistics Support Center (ILSC)
ศูนย์อีซูซุเพื่อสนับสนุนโลจิสติกส์ Isuzu Logistics Support Center (ILSC)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น