วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โครงสร้างของห่วงโซ่อุปทาน

โครงสร้างของห่วงโซ่อุปทาน

สมัยก่อนกิจกรรมต่าง ๆ เป็นตัวกำหนดองค์กรแต่ละองค์กร ขณะที่บทบาทเหล่านี้ปัจจุบันได้เปลี่ยนไป ในห่วงโซ่อุปทาน ลำดับกิจกรรมจะเป็นตัวกำหนดกระบวนการไหลของผลิตภัณฑ์ การจัดการห่วงโซ่อุปทานจะเป็นการจัดการกิจกรรมทั้งหมดให้มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการตลาดกับคู่แข่งวัตถุประสงค์หนึ่งของการจัดการห่วงโซ่อุปทานคือ การลดและขจัดต้นทุนสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็นออกไป ซึ่งการมีไว้ของสินค้าคงคลังมีจุดประสงค์ 2 ประการคือ เพื่อป้องกันความต้องการที่ไม่ทราบล่วงหน้ามาก่อน และเพื่อป้องกันการจัดส่งวัตถุดิบล่าช้า หรือเกิดความผิดพลาดในการจัดส่งให้กับผู้ผลิต การผลิตแบบทันเวลาพอดีเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ผู้ผลิตมักจะเก็บสินค้าในรูปแบบสินค้าสำเร็จรูปก่อนที่จะส่งไปยังผู้กระจายสินค้า โดยจะจัดเก็บให้ใกล้กับตลาดมากที่สุดเพื่อที่จะส่งมอบให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน การสั่งสินค้าเพื่อมาเติมสินค้าคงคลังจะต้องส่งมาจากฝ่ายผลิตทั้งจากผู้ผลิตและผู้จัดส่งสินค้ากรณีที่ลูกค้าสามารถที่จะรอคอยสินค้าได้ เราไม่จำเป็นต้องมีสินค้าคงคลัง แนวคิดนี้เรียกว่าระบบดึง (Demand Pull) หรือระบบที่ผลิตสินค้าเมื่อมีความต้องการจากลูกค้า ความสำเร็จของแนวคิดนี้อยู่ที่ความรวดเร็วของการผลิต และความต้องการที่สม่ำเสมอ

กิจกรรมเหล่านี้คืออะไร
กิจกรรมเฉพาะ หมายถึงระบบในการไหลของผลิตภัณฑ์ กิจกรรมเหล่านี้ควรจะถูกรวมเข้าไว้ด้วยกันภายในห่วงโซ่อุปทานถ้ากิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้สามารถที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งลักษณะของกิจกรรมเหล่านี้คือ
  • กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะเกี่ยวพันกัน และมีวัตถุประสงค์ของห่วงโซ่ขณะเป็นระบบ
  • กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้เป็นกิจกรรมที่สามารถจัดการได้ เ
  • ป็นกิจกรรมที่มีนัยทางเศรษฐกิจ สามารถเพิ่มมูลค่าได้ และมีต้นทุนสะสม
  • หน้าที่รับผิดชอบของแผนกต่าง ๆ ภายในห่วงโซ่อุปทานไม่ควรซ้ำซ้อนกัน เ
  • ป็นกิจกรรมที่มีลักษณะทางเศรษฐกิจ ซึ่งสร้างแรงจูงใจสำหรับธุรกิจในการที่จะสร้างความชำนาญในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

· การผลิตจำนวนมาก ๆ

· การผลิตโดยเน้นกลุ่มลูกค้า

· ความเชี่ยวชาญในงานเฉพาะอย่างการใช้

Core Competency และ Outsourcing
ความเชี่ยวชาญหลักขององค์กรจะเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ อาจจะมีการจ้างหน่วยงานภายนอกมาดำเนินการ ขึ้นอยู่กับว่ากิจกรรมนั้นจะช่วยให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขันหรือไม่ความชำนาญ และการใช้ทรัพยากรจากภายนอกเป็นแนวคิดที่เสริมกัน ความชำนาญหลักจะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กร การใช้ทรัพยากรภายนอกเป็นการนำเอากิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าไปให้องค์กรอื่นที่สามารถทำได้ดีกว่าทำแทน

Scale, Scope และ Specialization
การผลิตจำนวนมาก ๆ เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการกำหนดว่าเมื่อไหร่จำเป็นต้องใช้บริษัทภายนอกเข้ามาช่วยในการผลิต โดยการผลิตจำนวนมากเพื่อลดต้นทุนต่อหน่วย (Economy of Scale) ซึ่ง Economy of Scale จะหมายถึงการลดต้นทุนโดยใช้เครื่องจักรที่มีอยู่ทำการผลิตผลิตภัณฑ์หลากหลาย ในแง่ของห่วงโซ่อุปทาน กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้สามารถที่จะใช้องค์กรภายนอกมาดำเนินงาน เนื่องจากปริมาณการผลิตน้อยกว่าที่จะทำการผลิตเอง
ธุรกิจหลายอย่างอาจจะถูกบังคับให้ดำเนินงานในช่วงต้น ๆ ของการผลิต การใช้บริษัทภายนอกอาจจะใช้ในขั้นตอนต่อมาภายใต้เงื่อนไขของจำนวนการผลิต ซึ่งธุรกิจต่าง ๆ ควรจะใช้องค์กรภายนอกก็ต่อเมื่อไม่สามารถบรรลุถึงการลดต้นทุนต่อหน่วย และความชำนาญเป็นอีกเหตุผลหนึ่งในการใช้ทรัพยากรภายนอก ซึ่งจะทำให้องค์กรได้รับประสบการณ์ และการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

การวางสินค้าคงคลังให้ใกล้ตลาดในช่วงเวลาที่เร็วที่สุดมีปัจจัยอยู่ 2 ประการที่เกี่ยวข้องในเรื่องของเวลาที่ใช้ในห่วงโซ่อุปทานคือ Speculation และ Postponement

- Speculation หมายถึงกิจกรรมของการผลิต และการวางสินค้าคงคลังให้ใกล้ตลาดในช่วงเวลาที่รวดเร็วที่สุด เพื่อลดต้นทุนของห่วงโซ่อุปทาน
- Postponement เป็นการทำให้เปลี่ยนแปลงในรูปของสินค้าล่าช้าออกไปจนกระทั่งบริษัททราบความต้องการของลูกค้าจึงทำการผลิต

นโยบาย Speculation นี้สามารถลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากต้องผลิตเป็นจำนวนมาก ๆ และทำการผลิตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสามารถลดต้นทุนการขนส่งเพราะทำการขนส่งในปริมาณมาก ๆ ซึ่งถ้านโยบายนี้มีการจัดการที่ดีจะทำให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะตรงกันข้ามกับนโยบาย Postponement คือมีเป้าหมายเพื่อที่จะลดสินค้าคงคลัง แต่จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเนื่องจากผลิตทีละไม่มาก รวมทั้งต้นทุนทางการกระจายสินค้า และต้นทุนการให้บริการที่สูงขึ้น

กลยุทธ์หลัก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Speculation และ Postponement คือ
1. Speculation การผลิตสินค้าแต่เนิ่น ๆ
2. Manufacturing Postponement การหน่วงการผลิต
3. Logistics Postponement การหน่วงระบบโลจิสติกส์
4. Full Postponement

Full Postponement โดยทั่วไปหมายถึงการมีจุดเก็บสินค้าไว้หลายจุด โดยระดับสินค้าคงคลังเป็นตัวกำหนดกระบวนการผลิต ข้อเสียหลัก ๆ คือ มีต้นทุนของอุปกรณ์ต่าง ๆ และสินค้าคงคลังในระดับสูง ต้นทุนของสินค้าคงคลังไม่ใช่แค่ต้นทุนด้านการเงิน แต่ยังรวมไปถึงการล้าสมัยของตัวสินค้า การสูญหายระหว่างการจัดเก็บ และการขนย้าย

การหน่วงด้านโลจิสติกส์ (Logistics Postponement)เรียกอีกอย่างว่ากลยุทธ์การหน่วงการจัดส่ง และการกระจายจนกว่าจะมีความต้องการของลูกค้า เป็นการรวมสินค้าคงคลังไว้ในคลังสินค้ากลาง และศูนย์กระจายสินค้าจะถูกใช้กระจายสินค้าไปยังตลาดท้องถิ่น ข้อดีของกลยุทธ์นี้คือลดสินค้าคงคลัง และช่วยให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละคน รวมทั้งผลิตสินค้าได้หลากหลายชนิดมากขึ้น ทำให้เกิดการผลิตในปริมาณมากเพื่อลดต้นทุนต่อหน่วย และทำให้เกิด Economy of Scope มากขึ้น ซึ่งกลยุทธ์นี้จำเป็นต้องมีการวางแผนล่วงหน้าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และต้องมีการเลือกสถานที่สำหรับการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า หรือแม้กระทั่งการกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของโรงงาน ซึ่งข้อเสียคือเวลาที่ล่าช้าสำหรับขั้นตอนสุดท้ายของการผลิต และสูญเสียการควบคุมขบวนการผลิต

ความหมายของ Full Postponementคือการหน่วงการผลิตจนกระทั่งได้รับคำสั่งซื้อ การหน่วงจะถูกพิจารณาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การหน่วงการผลิตขั้นต้น ไปจนถึงการผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ข้อดีคือการลดสินค้าคงคลัง และมีความยืดหยุ่นในการผลิตสูง ข้อเสียคือมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งกลยุทธ์นี้จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูงในกระบวนการผลิต

ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดกลยุทธ์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. ผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงวงชีวิตของผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์
2. ความต้องการของตลาด จะเกี่ยวข้องกับการให้บริการ ข้อกำหนดต่าง ๆ สำหรับเวลาการส่งมอบ การผลิตในจำนวนมาก ๆ โดยเน้นการผลิตที่หลากหลายเพื่อลดต้นทุนการผลิต
3. การจัดส่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น