วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โครงสร้างของห่วงโซ่อุปทาน

โครงสร้างของห่วงโซ่อุปทาน

สมัยก่อนกิจกรรมต่าง ๆ เป็นตัวกำหนดองค์กรแต่ละองค์กร ขณะที่บทบาทเหล่านี้ปัจจุบันได้เปลี่ยนไป ในห่วงโซ่อุปทาน ลำดับกิจกรรมจะเป็นตัวกำหนดกระบวนการไหลของผลิตภัณฑ์ การจัดการห่วงโซ่อุปทานจะเป็นการจัดการกิจกรรมทั้งหมดให้มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการตลาดกับคู่แข่งวัตถุประสงค์หนึ่งของการจัดการห่วงโซ่อุปทานคือ การลดและขจัดต้นทุนสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็นออกไป ซึ่งการมีไว้ของสินค้าคงคลังมีจุดประสงค์ 2 ประการคือ เพื่อป้องกันความต้องการที่ไม่ทราบล่วงหน้ามาก่อน และเพื่อป้องกันการจัดส่งวัตถุดิบล่าช้า หรือเกิดความผิดพลาดในการจัดส่งให้กับผู้ผลิต การผลิตแบบทันเวลาพอดีเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ผู้ผลิตมักจะเก็บสินค้าในรูปแบบสินค้าสำเร็จรูปก่อนที่จะส่งไปยังผู้กระจายสินค้า โดยจะจัดเก็บให้ใกล้กับตลาดมากที่สุดเพื่อที่จะส่งมอบให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน การสั่งสินค้าเพื่อมาเติมสินค้าคงคลังจะต้องส่งมาจากฝ่ายผลิตทั้งจากผู้ผลิตและผู้จัดส่งสินค้ากรณีที่ลูกค้าสามารถที่จะรอคอยสินค้าได้ เราไม่จำเป็นต้องมีสินค้าคงคลัง แนวคิดนี้เรียกว่าระบบดึง (Demand Pull) หรือระบบที่ผลิตสินค้าเมื่อมีความต้องการจากลูกค้า ความสำเร็จของแนวคิดนี้อยู่ที่ความรวดเร็วของการผลิต และความต้องการที่สม่ำเสมอ

กิจกรรมเหล่านี้คืออะไร
กิจกรรมเฉพาะ หมายถึงระบบในการไหลของผลิตภัณฑ์ กิจกรรมเหล่านี้ควรจะถูกรวมเข้าไว้ด้วยกันภายในห่วงโซ่อุปทานถ้ากิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้สามารถที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งลักษณะของกิจกรรมเหล่านี้คือ
  • กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะเกี่ยวพันกัน และมีวัตถุประสงค์ของห่วงโซ่ขณะเป็นระบบ
  • กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้เป็นกิจกรรมที่สามารถจัดการได้ เ
  • ป็นกิจกรรมที่มีนัยทางเศรษฐกิจ สามารถเพิ่มมูลค่าได้ และมีต้นทุนสะสม
  • หน้าที่รับผิดชอบของแผนกต่าง ๆ ภายในห่วงโซ่อุปทานไม่ควรซ้ำซ้อนกัน เ
  • ป็นกิจกรรมที่มีลักษณะทางเศรษฐกิจ ซึ่งสร้างแรงจูงใจสำหรับธุรกิจในการที่จะสร้างความชำนาญในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

· การผลิตจำนวนมาก ๆ

· การผลิตโดยเน้นกลุ่มลูกค้า

· ความเชี่ยวชาญในงานเฉพาะอย่างการใช้

Core Competency และ Outsourcing
ความเชี่ยวชาญหลักขององค์กรจะเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ อาจจะมีการจ้างหน่วยงานภายนอกมาดำเนินการ ขึ้นอยู่กับว่ากิจกรรมนั้นจะช่วยให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขันหรือไม่ความชำนาญ และการใช้ทรัพยากรจากภายนอกเป็นแนวคิดที่เสริมกัน ความชำนาญหลักจะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กร การใช้ทรัพยากรภายนอกเป็นการนำเอากิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าไปให้องค์กรอื่นที่สามารถทำได้ดีกว่าทำแทน

Scale, Scope และ Specialization
การผลิตจำนวนมาก ๆ เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการกำหนดว่าเมื่อไหร่จำเป็นต้องใช้บริษัทภายนอกเข้ามาช่วยในการผลิต โดยการผลิตจำนวนมากเพื่อลดต้นทุนต่อหน่วย (Economy of Scale) ซึ่ง Economy of Scale จะหมายถึงการลดต้นทุนโดยใช้เครื่องจักรที่มีอยู่ทำการผลิตผลิตภัณฑ์หลากหลาย ในแง่ของห่วงโซ่อุปทาน กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้สามารถที่จะใช้องค์กรภายนอกมาดำเนินงาน เนื่องจากปริมาณการผลิตน้อยกว่าที่จะทำการผลิตเอง
ธุรกิจหลายอย่างอาจจะถูกบังคับให้ดำเนินงานในช่วงต้น ๆ ของการผลิต การใช้บริษัทภายนอกอาจจะใช้ในขั้นตอนต่อมาภายใต้เงื่อนไขของจำนวนการผลิต ซึ่งธุรกิจต่าง ๆ ควรจะใช้องค์กรภายนอกก็ต่อเมื่อไม่สามารถบรรลุถึงการลดต้นทุนต่อหน่วย และความชำนาญเป็นอีกเหตุผลหนึ่งในการใช้ทรัพยากรภายนอก ซึ่งจะทำให้องค์กรได้รับประสบการณ์ และการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

การวางสินค้าคงคลังให้ใกล้ตลาดในช่วงเวลาที่เร็วที่สุดมีปัจจัยอยู่ 2 ประการที่เกี่ยวข้องในเรื่องของเวลาที่ใช้ในห่วงโซ่อุปทานคือ Speculation และ Postponement

- Speculation หมายถึงกิจกรรมของการผลิต และการวางสินค้าคงคลังให้ใกล้ตลาดในช่วงเวลาที่รวดเร็วที่สุด เพื่อลดต้นทุนของห่วงโซ่อุปทาน
- Postponement เป็นการทำให้เปลี่ยนแปลงในรูปของสินค้าล่าช้าออกไปจนกระทั่งบริษัททราบความต้องการของลูกค้าจึงทำการผลิต

นโยบาย Speculation นี้สามารถลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากต้องผลิตเป็นจำนวนมาก ๆ และทำการผลิตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสามารถลดต้นทุนการขนส่งเพราะทำการขนส่งในปริมาณมาก ๆ ซึ่งถ้านโยบายนี้มีการจัดการที่ดีจะทำให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะตรงกันข้ามกับนโยบาย Postponement คือมีเป้าหมายเพื่อที่จะลดสินค้าคงคลัง แต่จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเนื่องจากผลิตทีละไม่มาก รวมทั้งต้นทุนทางการกระจายสินค้า และต้นทุนการให้บริการที่สูงขึ้น

กลยุทธ์หลัก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Speculation และ Postponement คือ
1. Speculation การผลิตสินค้าแต่เนิ่น ๆ
2. Manufacturing Postponement การหน่วงการผลิต
3. Logistics Postponement การหน่วงระบบโลจิสติกส์
4. Full Postponement

Full Postponement โดยทั่วไปหมายถึงการมีจุดเก็บสินค้าไว้หลายจุด โดยระดับสินค้าคงคลังเป็นตัวกำหนดกระบวนการผลิต ข้อเสียหลัก ๆ คือ มีต้นทุนของอุปกรณ์ต่าง ๆ และสินค้าคงคลังในระดับสูง ต้นทุนของสินค้าคงคลังไม่ใช่แค่ต้นทุนด้านการเงิน แต่ยังรวมไปถึงการล้าสมัยของตัวสินค้า การสูญหายระหว่างการจัดเก็บ และการขนย้าย

การหน่วงด้านโลจิสติกส์ (Logistics Postponement)เรียกอีกอย่างว่ากลยุทธ์การหน่วงการจัดส่ง และการกระจายจนกว่าจะมีความต้องการของลูกค้า เป็นการรวมสินค้าคงคลังไว้ในคลังสินค้ากลาง และศูนย์กระจายสินค้าจะถูกใช้กระจายสินค้าไปยังตลาดท้องถิ่น ข้อดีของกลยุทธ์นี้คือลดสินค้าคงคลัง และช่วยให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละคน รวมทั้งผลิตสินค้าได้หลากหลายชนิดมากขึ้น ทำให้เกิดการผลิตในปริมาณมากเพื่อลดต้นทุนต่อหน่วย และทำให้เกิด Economy of Scope มากขึ้น ซึ่งกลยุทธ์นี้จำเป็นต้องมีการวางแผนล่วงหน้าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และต้องมีการเลือกสถานที่สำหรับการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า หรือแม้กระทั่งการกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของโรงงาน ซึ่งข้อเสียคือเวลาที่ล่าช้าสำหรับขั้นตอนสุดท้ายของการผลิต และสูญเสียการควบคุมขบวนการผลิต

ความหมายของ Full Postponementคือการหน่วงการผลิตจนกระทั่งได้รับคำสั่งซื้อ การหน่วงจะถูกพิจารณาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การหน่วงการผลิตขั้นต้น ไปจนถึงการผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ข้อดีคือการลดสินค้าคงคลัง และมีความยืดหยุ่นในการผลิตสูง ข้อเสียคือมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งกลยุทธ์นี้จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูงในกระบวนการผลิต

ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดกลยุทธ์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. ผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงวงชีวิตของผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์
2. ความต้องการของตลาด จะเกี่ยวข้องกับการให้บริการ ข้อกำหนดต่าง ๆ สำหรับเวลาการส่งมอบ การผลิตในจำนวนมาก ๆ โดยเน้นการผลิตที่หลากหลายเพื่อลดต้นทุนการผลิต
3. การจัดส่ง

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า 11 ประการ




โดย ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล
ผอ.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


หนึ่งในขบวนการทำงานด้านโลจิสติกส์ที่บริษัทและองค์กรต่างๆ ควรให้ความสนใจในชั่วโมงนี้ที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าขบวนการด้านการขนส่ง หรือการบริหารสต๊อก
ได้แก่ การจัดการคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า โดยขบวนการทำงานในด้านนี้จะส่งผลโดยตรงต่อต้นทุน โลจิสติกส์ และประสิทธิภาพในการตอบสนองลูกค้า
ทั้งในด้านของเวลาในการดำเนินการ และคุณภาพมาตรฐานในการส่งมอบสินค้าให้ครบตามจำนวน และเป็นไปอย่างที่ลูกค้าต้องการ ดังนั้น บริษัทและองค์กรต่างๆ
จึงควรหันมาให้ความสนใจ และพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการงานในส่วนนี้อย่างจริงจัง โดยแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า ที่บริษัทและองค์กรต่างๆ ควรเลือกใช้ เพื่อยกระดับขบวนการทำงานโลจิสติกส์ในด้านนี้มีอยู่ด้วยกัน 11 ประการใหญ่ๆ อันได้แก่


แนวทางที่ 1 การลดภาระสินค้าที่ผ่านคลังสินค้าโดยอาศัยวิธีการ Drop-Shipping หรือการวางแผนจัดหาวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์หรือการวางแผนการผลิตของโรงงาน ให้เสร็จทันการใช้งาน หรือส่งมอบ โดยบริษัทจะมีการจัดเก็บที่ซัพพลายเออร์ หรือที่โรงงานแทนการเก็บที่คลังสินค้า โดยเมื่อมีความต้องการในตัวสินค้าเกิดขึ้น สินค้าจะถูกส่งมอบโดยตรงจากซัพพลายเออร์ถึงโรงงาน หรือ ส่งมอบตรงจากโรงงานถึงลูกค้า วิธีการนี้ถือว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดต่อบริษัท เพราะทำให้บริษัทไม่ต้องมีภาระด้านงานคลังสินค้าแต่อย่างใด และทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์โดยรวมลดลง แต่มีข้อด้อยตรงที่บริษัทจะต้องมีการวางแผนด้านการจัดหา การผลิต และการส่งมอบที่ดีเยี่ยม วิธีการนี้โดยส่วนมากจะนำมาใช้กับสินค้าจำพวกสั่งผลิต

แนวทางที่2 การส่งผ่านสินค้าเข้าคลังแบบ Cross-Docking วิธีการนี้แม้ว่าจะไม่ดีเท่ากับวิธีการแบบ Drop-Shippingแต่ถือว่าเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ประสิทธิภาพด้านคลังสินค้าของบริษัทสูงขึ้น วิธี Cross-Docking เป็นวิธีการที่สินค้าจะถูกส่งเข้ามาในคลังสินค้าเพียงชั่วคราวเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพื่อลำเลียงขึ้นรถขนส่งรวมกับสินค้าอื่นๆ ที่อาจมีการส่งเข้ามาในช่วงระยะเวลาไล่เลี่ยกัน โดยมากช่วงระยะเวลานี้จะน้อยกว่า 1 วัน ทำให้สินค้าไม่ต้องมีการขนเข้าไปจัดเก็บที่บริเวณจัดเก็บของคลังแต่อย่างใด สินค้าเป็นเพียง “สินค้าส่งผ่านคลัง” เท่านั้น ทำให้คลังสินค้าไม่เกิดการจัดเก็บและรองรับปริมาณสินค้าได้มากขึ้น ผลิตภาพการทำงานของคลังสูงขึ้น อย่างไรก็ตามวิธีการนี้มีความยากคล้ายกับวิธีการ Drop-Shipping เช่นกันเพราะจะต้องมีการประสานข้อมูลด้านสินค้าขาเข้าและขาออกจากคลัง จากต้นทางถึงปลายทาง พร้อมๆ กันในเวลาเดียวกันซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ยากลำบากพอสมควรสำหรับบางธุรกิจ หรือบางบริษัท

แนวทางที่ 3 พิจารณายุบรวมคลังสินค้าจากที่เคยมีจำนวนหลายๆ แห่งให้เหลือจำนวนแห่งเดียว หรือน้อยลงให้เป็นในลักษณะของศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า โดยเลือกทำเลที่ตั้งของคลังสินค้าใหม่ ที่สะดวกและประหยัดในการรวบรวมสินค้าจากแหล่งผลิตหรือโรงงานต่างๆ และง่ายต่อการกระจายสินค้าไปสู่ลูกค้าหรือแหล่งบริโภค การพิจารณายุบรวมคลังสินค้านี้ จะส่งผลดีต่อบริษัท ทั้งในแง่ของการบริหารจัดการสต๊อก การจัดการคลังสินค้าในภาพรวม และที่สำคัญลดต้นทุนโลจิสติกส์โดยรวมได้มากขึ้นถ้ามีการเพิ่มกิจกรรมที่ช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าเข้าไป เช่น การติดฉลากสินค้า การตรวจเช็กคุณภาพสินค้า การประกอบสินค้าขั้นสุดท้าย หรือการแบ่งถ่ายและบรรจุสินค้า

แนวทางที่ 4 การปรับเปลี่ยนรูปแบบในการจัดเก็บสินค้าภายในคลังสินค้า จากแบบ Random หรือ แบบที่ไม่ได้ระบุตำแหน่งที่ตั้งของสินค้าอย่างชัดเจน
มาเป็นการจัดเก็บสินค้าแบบโซน ABC หรือ แบบที่กำหนดตำแหน่งที่ตั้งของสินค้าตามลำดับความสำคัญเชิงปริมาณเข้าออก หรือ ลักษณะการใช้งานคลังสินค้า
ตัวอย่างเช่น สินค้าที่มีปริมาณเข้าออกคลังบ่อยๆ เป็นจำนวนมากๆ ถือว่าเป็นกลุ่มสินค้าเอ จะถูกกำหนดโซนในการจัดเก็บที่ใกล้ประตูเข้าออกมากที่สุดเนื่องจากจำเป็นต้องปฏิบัติงานเป็นประจำ ส่วนสินค้าที่มีปริมาณเข้าออก และจำนวนน้อยลงมา ถือว่าเป็นกลุ่มสินค้า บี ซี และดี ตามลำดับซึ่งจะกำหนดโซนในการจัดเก็บที่ไกลออกไป และต้องเสียเวลาและระยะทางในการปฏิบัติงานนำสินค้าเข้าไปเก็บและหยิบออกมามากขึ้นตามลำดับการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการจัดเก็บสินค้าภายในคลังเช่นนี้ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ภายในคลังสูงขึ้นและทำให้การบริหารควบคุมสต๊อกภายในคลังง่ายขึ้นอีกด้วย

แนวทางที่ 5 การเลือกวีธีการหยิบสินค้าที่เหมาะสม โดยสามารถเลือกวิธีการหยิบสินค้าได้หลากหลายรูปแบบซึ่งแต่ละแบบอาจทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงเพิ่มขึ้นได้ โดยวิธีการหยิบสินค้าที่นิยมกันมีดังต่อไปนี้ แบบแรกเป็นแบบมอบหมายให้ผู้หยิบสินค้าในแต่ละออร์เดอร์ ดำเนินการเพียงคนเดียว แบบนี้มีข้อดีตรงที่สินค้าในแต่ละออร์เดอร์มีผู้รับผิดชอบดูแลโดยตรง ซึ่งอาจช่วยลดปัญหาเรื่องออร์เดอร์ไม่ครบหรือผิดพลาดได้ดียิ่งขึ้น แต่มีข้อเสียตรงที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการมาก และในบางกรณีก็จำเป็นจะต้องใช้พนักงานที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากเช่นกัน โดยเฉพาะในกรณีที่มีออร์เดอร์ในเวลาเดียวกันครั้งละมากๆแบบต่อมาเป็นแบบมอบหมายให้ผู้หยิบสินค้าหยิบสินค้าเป็น Batch กล่าวคือ ผู้หยิบสินค้าคนหนึ่งๆ ทำการหยิบสินค้าในแต่ละครั้งเพื่อหลายๆ ออร์เดอร์โดยวิธีการหยิบสินค้าแบบนี้มีข้อดีและข้อเสียตรงกันข้ามกับแบบแรกโดยสิ้นเชิง โดยวิธีการนี้มักจะนิยมใช้กับคลังสินค้าขนาดใหญ่ที่มีรายการสินค้าในแต่ละออร์เดอร์ไม่มากนักและให้ความสำคัญกับเรื่องของรอบระยะเวลาและออร์เดอร์ที่ดำเนินการในแต่ละวันเป็นสำคัญ ตัวอย่างแบบสุดท้าย ได้แก่การหยิบสินค้าในลักษณะโซนโดยการหยิบวิธีนี้จะมีการมอบหมายผู้หยิบไว้ในลักษณะโซนสินค้าอย่างชัดเจน เมื่อมีออร์เดอร์สินค้าที่ต้องทำการหยิบรายการสินค้าจะถูกหยิบโดยผู้หยิบในแต่ละโซน และเมื่อได้จำนวนครบตามออร์เดอร์แล้วสินค้าที่หยิบมาจะต้องถูกนำมาคัดแยกและบรรจุภัณฑ์เพื่อเตรียมส่งมอบอีกทอดหนึ่ง วิธีการหยิบแบบนี้มีข้อดีตรงที่การหยิบแต่ละครั้งมีความรวดเร็วมากเนื่องจากผู้หยิบมีความเชี่ยวชาญและชำนาญในโซนนั้นๆ อยู่แล้ว แต่จะมีข้อด้อยก็ตรงที่จะต้องมีการดำเนินกิจกรรมคลังสินค้าเพิ่มเติมในส่วนของการคัดแยกสินค้าและเตรียมสินค้าในภายหลัง

แนวทางที่ 6 ทำการปรับเปลี่ยนพื้นที่การใช้สอย และพื้นที่จัดเก็บภายในคลังสินค้าใหม่ ให้สามารถรองรับฟังก์ชันการจัดเก็บและการใช้งานภายในคลังสินค้าที่ดีขึ้น โดยอาจพิจารณาทำขบวนการ 5ส ก่อน ได้แก่ การสะสางสต๊อก หรือ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ไม่ได้ก่อประโยชน์แล้วออกจากคลังสินค้า, การทำความสะอาดภายในคลังสินค้า ให้สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงต่างๆที่อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุภายในคลังสินค้าได้, การเพิ่มความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้าเข้าออกภายในคลังสินค้า โดยการจัดระเบียบเส้นทางคมนาคมภายในคลังรวมถึงการตีเส้น แบ่งเส้นจราจรภายในคลังอย่างชัดเจน, การดูแลในเรื่องสุขลักษณะภายในคลังสินค้า เช่น ช่องลม ช่องแสง ปัญหาเรื่องความชื้น ฝุ่นที่อาจก่อให้เกิดปัญหาทั้งในด้านสุขภาพของพนักงาน และประสิทธิภาพการทำงานและการจัดเก็บสินค้าภายในคลังสินค้า,สุดท้ายเป็นการสร้างอุปนิสัยที่ดีในการทำงานภายในคลังสินค้า เช่น การออกกฏระเบียบข้อห้ามต่างๆ ในการปฏิบัติงานภายในคลังสินค้า
ไม่ว่าจะเป็นการห้ามขับรถยกด้วยความเร็วสูง หรือ การกลับรถยกภายในช่องเก็บสินค้า การห้ามขึ้นลงสินค้านอกบริเวณขึ้นลงการห้ามวางสินค้าตรงบริเวณประตูขึ้นลงสินค้าเป็นต้น

แนวทางที่ 7 การปรับปรุงขบวนการทำงานภายในคลังสินค้า ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการรับและตรวจเช็คนับสินค้า, การนำสินค้าเข้าบริเวณหรือชั้นจัดเก็บสินค้า, การดูแลสินค้าขณะจัดเก็บให้อยู่ในสภาพที่ดี ไม่เสื่อมสภาพหรือเสียหาย,การหยิบสินค้าที่จัดเก็บออกมาใช้หรือเตรียมส่งมอบ, การคัดแยกและเตรียมสินค้าเพื่อจัดส่ง, การบรรจุหีบห่อหรือติดป้ายตราสินค้าต่างๆ สำหรับส่งมอบและส่งออกพร้อมทั้งนำวิธีการคิดต้นทุนแบบกิจกรรม ที่นิยมเรียกกันว่า Activity-Based Costing มาประเมินต้นทุนในแต่ละกิจกรรม และประเมินกิจกรรม หรือการปฏิบัติงานต่างๆ ภายในคลังสินค้าว่า ในการปฏิบัติงานกิจกรรมใดที่ช่วยสร้างหรือเพิ่มมูลค่าเพิ่ม หรือไม่อย่างไร ซึ่งจะสามารถทำให้การทำงานของคลังสินค้าต่างๆมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีขึ้น

แนวทางที่ 8 การประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับงานคลังสินค้า การใช้ระบบเทคโนโลยีฯ เข้าช่วยในการปฏิบัติงานด้านคลังสินค้าที่สำคัญในชั่วโมงนี้ได้แก่ระบบบาร์โค้ด โดยการนำระบบบาร์โค้ดมาใช้กับคลังสินค้าจะสามารถใช้ได้ในหลายๆ จุด ได้แก่การรับและส่งสินค้าเข้าออกจากคลัง การจัดระบบเก็บสินค้าภายในคลัง และการตรวจนับสินค้าภายในคลัง เป็นต้น ปัญหาภายในคลังสินค้าโดยเฉพาะข้อผิดพลาดที่เกิดจากพนักงานตรวจนับ รับส่งสินค้า สามารถบรรเทาลงได้ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบบาร์โค้ด โดยสินค้าต่างๆ ที่เข้าออก และจัดเก็บภายในคลังสินค้า จะใช้ระบบบาร์โค้ดในการระบุตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์เพื่อขนย้าย และจัดเก็บ การปรับปรุงคลังสินค้าด้วยวิธีนี้ จะทำให้การทำงานด้านเอกสาร และการตรวจเช็ค ตรวจนับต่างๆ ภายในคลังสินค้าสามารถทำได้รวดเร็วขึ้น และช่วยให้ข้อผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดจากการป้อนข้อมูลด้วยคนสามารถลดลงได้ (นอกเหนือจากระบบบาร์โค้ดแล้ว ปัจจุบันยังมีระบบ RFID
ซึ่งเป็นระบบที่มีการทำงานและสามารถใช้ประโยชน์คล้ายคลึงกับระบบบาร์โค้ด แต่อาศัยคลื่นวิทยุแทนคลื่นแสง และสามารถอ่านข้อมูลในระยะไกลโดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสสินค้า)

แนวทางที่ 9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารสำหรับงานคลังสินค้าด้วยระบบ Electronic Data Interchange (EDI) หรือระบบแลกเปลี่ยนและส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ การประยุกต์ใช้ระบบ EDI นี้จะทำให้การรับและส่งมอบสินค้าจากซัพพลายเออร์ และลูกค้า สามารถทำได้รวดเร็ว ที่สำคัญสามารถเตรียมการต่างๆ ทั้งในเรื่องของพื้นที่ อุปกรณ์ และพิธีการรับส่งสินค้าต่างๆ ได้ล่วงหน้า ประกอบกับทำให้ลดขั้นตอน และข้อผิดพลาดต่างๆ
ของการรับและส่งมอบสินค้า เอกสารต่างๆ มีความถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น การตรวจทานต่างๆ สามารถทำได้ง่ายและคล่องตัวมากขึ้น
ส่งผลให้ต้นทุนและประสิทธิภาพด้านเวลารับและส่งมอบสินค้าดีขึ้น

แนวทางที่ 10 จัดหาอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ หรือ อุปกรณ์ขนย้ายที่เหมาะสม พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนระบบการจัดเก็บ และระบบการขนย้ายโดยใช้พาเลท หรือ
กระดานรอง โดยวิธีการนี้จะทำให้การทำงานของคลังสินค้าสะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น การนำของขึ้นและลง ไม่ว่าจะเป็นในช่วงของการรับสินค้าเข้าคลังสินค้า
หรือในช่วงของการนำสินค้าออกมาจากบริเวณจัดเก็บ รวมถึงช่วงของการยกสินค้าขึ้นรถบรรทุกต่างๆ สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพด้านเวลา และรอบของการปฏิบัติงานดีขึ้น ผลิตภาพของคลังสูงขึ้น

แนวทางที่ 11 ลดภาระด้านต้นทุนแฝง และภาระการลงทุนด้านคลังสินค้า ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และที่อาจเกิดจากการลงทุนในอนาคต ด้วยการปรับเปลี่ยนจากการใช้ทรัพย์สินของบริษัทตนเอง ซึ่งใช้เป็นสถานที่จัดเก็บวัตถุดิบ ชิ้นส่วนการผลิต และสินค้า มาเป็นการเช่าสถานที่ หรือ คลังสินค้าภายนอกแทน การดำเนินการเช่นนี้จะส่งผลดีต่อบริษัทในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลดต้นทุนจมที่หมดไปกับคลังสินค้า,การรับทราบต้นทุนการจัดเก็บ หรือ ต้นทุนดูแลจัดเก็บสินค้าต่อหน่วยได้ชัดเจนแม่นยำขึ้น, และที่สำคัญทำให้บริษัทแบกรับภาระเรื่อง คนงาน และความเสี่ยงต่างๆน้อยลง



ที่มา Transport Journal 3 พ.ย. 2551

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552


การบริหารงานขนส่งสำหรับหัวหน้างาน (Transportation management for supervisor)


บทบาทของหัวหน้างานต่อความสำเร็จขององค์กร (Role of Supervisor towards organization success)
โดย คุณ จำเรียง วัยวัฒน์ CEO บริษัท เอ็กซเพรส เน็ตเวิร์ค เซอร์วิส จำกัด
และเลขาธิการสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต

บทบาทของหัวหน้างาน
- ยึดมั่นในพันธะ(Commitment)
- คงเส้นคงวา (Consistence)
- ความสามารถที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Complexity)
- ความศรัทธา (Credibility) และภาพพจน์ (Image)
บทบาทของหัวหน้างานกับความสำเร็จขององค์กร นั้นจะต้องประกอบไปด้วย
- ภาวะผู้นำ (Leaders)
- หน้าที่และบทบาทของผู้นำ
- การสื่อสาร
- การสร้างแรงจูงใจ

แนวความคิดการจัดการโลจิสติกส์ และความสำคัญของกระบวนการโลจิสติกส์ กับบริหารงานขนส่ง(Logistics Process and transport Management) โดย คุณ โภคทรัพย์ พุ่มพวง รองผู้จัดการทั่วไปฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เบอร์ลี่ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ จำกัด
และ อุปนายก สมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต
ในปัจจุบันแนวความคิดด้านการจัดการระบบโลจิสติกส์นั้นได้เน้นหรือให้ความสำคัญไปที่ การบริหารต้นทุนโลจิสติกส์ โดยที่ผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและใหญ่นั้นต่างก็คำนึงถึงการลดต้นทุน โลจิสติกส์ ซึ่งต้นทุนโลจิสติกส์นั้นประกอบไปด้วยต้นทุนต่างๆ ดังนี้
% of sales
- Transportation cost 3.5%
- Warehousing 2.4%
- Inventory carrying cost 2.0%
- Administration 0.9%
- Order entry 0.8%
Total Logistics cost 9.6%*

หมายเหตุ :ข้อมูลจากประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2003

จะเห็นได้ว่าต้นทุนการขนส่งนั้นเป็นต้นทุนที่มีสัดส่วนมากที่สุดในต้นทุนโลจิสติกส์ นั่นคือ 3.5%
จาก 9.6% ดังนั้นการบริการการขนส่งนั้นจึงเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการบริการต้นทุน โลจิสติกส์

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการบริการงานขนส่งปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการบริการงานขนส่ง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์(Product factor) และปัจจัยด้านตลาด (Market factor) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Product factor) ได้แก่
• ความหนาแน่น (Density) กล่าวคือ สินค้าที่มีความหนาแน่นมาก เช่นเหล็ก เป็นต้น ก็จะทำให้สามารถบรรทุกสินค้าได้ปริมาณน้อย ทำให้มีพื้นที่บางส่วนเหลือว่างอยู่ ดังนั้นการบริหารการขนส่งที่ดีที่สุดคือ การนำสินค้าที่มีความหนาแน่นต่ำ เช่น นุ่น มาบรรทุกเพิ่มเพื่อทำให้การใช้พื้นที่นั้นเกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการลดรอบในการบรรทุกสินค้าอีกด้วย
• คุณสมบัติในการบรรทุก (Stow ability) กล่าวคือ การบรรทุกสินค้านั้นจะต้องทำการจัดสรรพื้นที่การวางสินค้าให้มีการบรรทุกสินค้าให้ได้มากที่สุด• ความยากง่ายในการลำเลียงสินค้า (Ease or difficulty of handling) กล่าวคือ หากสินค้ายังอยู่ในสภาพที่ไม่สะดวกในการขนถ่าย ก็ควรจะทำบรรจุภัณฑ์ให้มีความเหมาะสม เพื่อความสะดวกในการขนส่งสินค้านั้นๆ
• ความรับผิดชอบ ในตัวสินค้า (Liability) กล่าวคือ การขนส่งสินค้าบางประเภทนั้นอาจต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบในตัวสินค้านั้น เนื่องจากสินค้านั้นอาจเป็นสินค้าอันตราย ยกตัวอย่างเช่น น้ำมัน เป็นต้น ดังนั้นการบริหารการขนส่งที่ดีนั้นควรจะมีการทำประกันภัยตัวสินค้า เพื่อที่จะเป็นการลดความเสี่ยง และความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

ปัจจัยด้านตลาด (Market factor) ได้แก่
• สภาพการแข่งขัน (Degree of Competition) กล่าวคือ
• ตำแหน่งที่ตั้งของตลาด (Location of market)
• ความสมดุลของปริมาณสินค้าขาไปและขากลับ (Balance or imbalance of freight traffic)
• ช่วงฤดูกาล (Seasonality)
• การเคลื่อนย้ายสินค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ (International vs Domestic Movement)

ระดับการบริหารงานด้านการขนส่ง
ระดับการบริหารงานด้านการขนส่งนั้น แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
1. ระดับกลยุทธ์ (Strategic)
o Transportation mode
o Investment
2. ระดับยุทธวิธี (Tactical)
o Carriers
o Networking
o Manpower
3. ระดับปฏิบัติการ (Operational)
o Routing & Scheduling
o Daily Execution
ซึ่งทั้ง 3 ระดับนี้นั้นจะวัดผลในเรื่อง Cost & Performance

ประเภทของการขนส่ง
การขนส่งนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. การขนส่งทางถนน
2. การขนส่งทางเรือ
3. การขนส่งทางอากาศ
4. การขนส่งทางราง
5. การขนส่งทางท่อซึ่งการขนส่งแต่ละประเภทนั้นก็จะมีโครงสร้างต้นทุนที่แตกต่างกันไป ดังนี้


คุณลักษณะของการให้บริการของการขนส่งแต่ละประเภทนั้น สามารถอธิบายได้ดังนี้


Remarks; 1 = Best , 5 = Worst


จากตารางจะเห็นว่าการขนส่งทางถนนนั้นมีลักษณะในด้านการบริการที่ดีที่สุดไม่ว่าจะเป็นในด้านความรวดเร็ว ,ความยืดหยุ่น เป็นต้น ทำให้การให้บริการการขนส่งทางถนนนั้นเป็นประเภทการขนส่งที่นิยมมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งรายละเอียดเรื่องการขนส่งโดยรถบรรทุกนั้นสามารถ กล่าวได้ ดังนี้o การขนส่งโดยรถบรรทุกนั้นเป็นประเภทการขนส่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุด (มากกว่า80%)
o เป็นการให้บริการการขนส่งที่เป็นแบบ Door to door services นั่นคือสามารถขนส่งสินค้าจากโรงงานของผู้ส่งสินค้าไปยังหน้าโรงงานหรือสถานที่ของผู้รับสินค้าได้เลย
o การขนส่งมีความรวดเร็วo สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่าย
o มีความยืดหยุ่น ในเรื่องการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่ง ซึ่งในอุตสาหกรรมการให้บริการขนส่งทางถนนนั้น สามาถแยกประเภทของรถได้ดังนี้




ผู้ให้บริการการขนส่งโดยรถบรรทุกนั้น จะมีรถอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆได้แก่
1. รถที่ทำการจ้างบริษัทอื่นมาวิ่งให้ (Outsource)
2. รถของตนเอง (Private)และบริษัทที่จัดการว่าจ้างบริษัทอื่นมาวิ่งรถให้นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ นั่นคือ การว่าจ้างรถทั่วไป (Common) และแบบการทำสัญญาว่าจ้าง ซึ่งในกรณีนี้นั้นจะมีการตกลงเงื่อนไขและข้อห้ามต่างๆ รวมถึงมีการระบุอัตราค่าจ้างด้วย ส่วน Exempt นั้นจะเป็นลักษณะของการมีรถแบบลูกผสม (Hybrid) ระหว่าง การมีรถเป็นของตัวเอง และ การเช่ารถ
โครงสร้างต้นทุนด้านการขนส่ง ต้นทุนการขนส่งนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) เช่น ค่าเสื่อมราคา , ดอกเบี้ย , ค่าเช่า , ภาษี ,ค่าเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น
2. ต้นทุนผันแปร เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ,ค่ายาง , ค่าบำรุงรักษา ,ค่าทางด่วน เป็นต้น
3. ต้นทุนอื่นๆ เช่น ต้นทุนในการบริหารจัดการ , ค่าอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ ,ค่าเบ็ดเตล็ด เป็นต้น
โครงสร้างต้นทุนด้านการขนส่ง (Cost structure of freight transport)โดย คุณเกียรติพงษ์ สันตะบุตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท วินโคสท์ โลจิสติกส์ และ กรรมการสมาคมไทยโลจิสติกส์ และการผลิต
การบริหารการขนส่งเพื่อลดต้นทุนค่าขนส่งนั้นสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่
1. การกระจายสินค้าผ่านศูนย์กระจายสินค้า กล่าวคือ เป็นการลดจำนวนรอบในการส่งสินค้าลง รวมไปถึงการทำงานที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้นดังรูป



ณ ร้านค้าปลีก E จะมีการตรวจรับสินค้าถึง 3 ครั้ง ในขณะที่การขนส่งสินค้าผ่านศูนย์กระจายสินค้า จะลดงานที่เกิดที่ร้านค้าปลีก E ลงเหลือเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
2. การขนส่งสินค้าแบบ Milk Run Milk Run
ป็นรูปแบบการจัดการงานจัดส่งที่บริหารโดยทางบริษัทผู้ผลิต ทำการสั่งซื้อวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนเพื่อนำไปใช้ทำการประกอบ ซึ่งความสามารถในการบรรทุก ในการออกแบบ Supply Part ของ Milk Run Delivery System จะต้องยึดหลักทางด้านการเคลื่อนย้ายหรือจัดส่ง (Logistics) โดยมีหัวข้อหลักดังนี้
- Cyclic Rotation รูปแบบการจัดส่งจะต้องเป็นลักษณะวงรอบ สามารถหมุนเวียนได้
- Short Lead-Time ในการ Supply Part จะต้องสั้นมาก แม่นยำกับการผลิตที่แท้จริง
- High Loading Efficiency มีขีดความสามารถสูงในรถบรรทุก
- Flexible to Change สามารถยืดหยุ่นในรูปแบบการจัดส่งได้



3. การขนส่งสินค้าแบบมีเที่ยวกลับ (Back haul) คือการขนส่งสินค้าที่ลดเที่ยวเปล่าหรือขากลับ โดยรถจะบรรทุกสินค้าไปส่งให้กับลูกค้าA และไปรับวัตถุดิบต่อที่supplier B เพื่อลดการวิ่งรถเที่ยวเปล่ากลับมา ซึ่งการขนส่งโดยวิธีนี้นั้นจะสามารถลดต้นทุนการขนส่งได้
4. การขนส่งสินค้าแบบ (Hook drop) เป็นการขนส่งสินค้าแบบลากวาง โดยเป็นการบริหารรถหัวลาก กับตู้เทรเลอร์แยกกัน ยกตัวอย่างบริษัทที่มีการบริหารการขนส่งลักษณะนี้ในปัจจุบัน ได้แก่ เทสโก้ โลตัส ซึ่งเทสโก้ มีตู้ขนสินค้า 400 ตู้ ซึ่งบริษัทเป็นผู้ลงทุนเอง ส่วนรถหัวลากเป็นการsubcontract จากบริษัทเอกชน ซึ่งมีรถหัวลากอยู่ 150 คัน ดังนั้นเพื่อให้รถหัวลากและตู้สินค้าไปถึงสโตร์แต่ละแห่งทั่วประเทศทันกำหนด รถหัวลากจะขนตู้สินค้าไปไว้ที่สโตร์ และวิ่งกลับทันทีโดยไม่รอขนสินค้าลง
ปัจจุบันแนวคิดการว่าจ้างบริการโลจิสติกส์จากภายนอก นั้นเป็นได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน แต่ก็จะเกิดคำถามที่วา “เมื่อใดจึงจะตัดสินใจใช้ Logistics outsourcing” คำตอบก็คือ เมื่องานนั้นมีผู้ที่มีความถนัดในงานนั้นๆมากกว่าเรา แต่ก็ยังมีแนวคิดอีกแนวคิดหนึ่งในการที่จะยังคงบริหารจัดการระบบโลจิสสติกส์เอง โดยไม่สนใจที่จะว่าจ้างบริการโลจิสติกส์จากภายนอก ได้แก่
1. องค์กรหรือบริษัทนั้นๆ กลัวที่จะเสียการควบคุมในการบริหารจัดการไป
2. หากทำการบริหารจัดการเองจะสามารถประหยัดต้นทุนได้มากกว่า
3. การบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์เป็นขีดความสามารถหลักขององค์กรการ
วัดผลงานการปฏิบัติงานการขนส่ง
• การส่งมอบตรงเวลา (On-time delivery)
• ความพร้อมของยานพาหนะเพื่อที่จะใช้งาน (Truck availability)
• การใช้ประโยชน์จากระวางรถบรรทุก (Space utilization)
• การปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย (Safety Performance)
• การส่งคืนใบส่งมอบสินค้าได้ตรงเวลา (On-time POD return)
• สินค้าสูญหายหรือชำรุดระหว่างการขนส่ง (Loss and damage)
• ข้อร้องเรียนของลูกค้า (Customer complaint)
• การส่งรายงานตรงเวลา (Punctual reporting)
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานขนส่ง Application of Information Technology towards Transport Management) โดย คุณ ศรัณย์ บุญญะศิริ กรรมการบริษัท เอเอ็มพี พัฒนา จำกัด และ รองเลขาธิการ กรรมการสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานขนส่ง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ นั่นคือ การประยุกต์ใช้ในระดับ Micro และ Macro
การใช้งานในระดับ Micro



- การเชื่อมโยงในมิติเดียว- การบริหารจัดการภายในองค์กร- การเชื่อมโยงกับ ERP (Enterprise Resource Planning)- การเชื่อมโยงเพื่อการ Outsource

การใช้งานในระดับ Macro



- การเชื่อมโยงหลายมิติ
- การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างองค์กร

ซึ่งวัตถุประสงค์ในการนำระบบITมาใช้ในกระบวนการโลจิสติกส์นั้น มีดังนี้
• ลดต้นทุน : การขนส่ง , คลังสินค้า , สินค้าคงคลัง , และความเสียหายต่างๆ
• เพิ่มประสิทธิภาพ
• เพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า
ยกตัวอย่างเครื่องมือทางเทคโนโลยีในระบบโลจิสติกส์
1. โปรแกรมการจัดวางสินค้า (Load Configuration Software)
2. โปรแกรมการวางแผนเส้นทางการขนส่ง (Route Planning Software)
3. โปรแกรมควบคุมการปฏิบัติการของพนักงานขับรถ (Driver-Control Operation) เป็นต้น
ความปลอดภัยและการบริหารพนักงานขับรถในการขนส่ง (Transport Safety and Driver Management) โดย คุณวุฒิศักดิ์ อภิชัยชาญกิจ ผู้จัดการการขนส่ง บริษัท เอส เอ็ม ซี โลจิสติกส์ จำกัด

ความปลอดภัยในการบริหารจัดส่งนั้นส่วนสำคัญอยู่ที่พนักงานขับรถ ดังนั้น การควบคุมความปลอดภัย จากการขนส่งนั้นจะต้อง
1. ผู้บริหารระดับสูงจะต้องเข้มงวด
2. ประกาศนโยบายหรือกฎระเบียบที่ชัดเจน
3. มีมาตรการลงโทษเมื่อทำผิด และให้รางวัลเมื่อทำดี
4. มีการรณรงค์ส่งเสริมเรื่องขับรถอย่างปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
5. จัดให้พนักงานขับรถได้รับการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งหลักสูตรในการอบรมพนักงานขับรถที่น่าสนใจนั้นได้แก่ การขับขี่ปลอดภัย หรือการขับรถ
ป้องกันอุบัติเหตุ นอกจากนี้การติดตามและดูแลการปฏิบัติงานในงานขนส่งนั้นควรจะมี
การประชุมพนักงานขับรถ และมี Safety talk เป็นประจำทุกเดือน มีการจัดทำ Route survey
ในเส้นทางขนส่งเพื่อระบุจุดอันตราย และควรจะนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้ามาช่วย
ในการบริหารจัดการงานขนส่งอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ระบบ GPS ระบบ Tracking เป็นต้น
ที่มา
ศูนย์อีซูซุเพื่อสนับสนุนโลจิสติกส์ Isuzu Logistics Support Center (ILSC)

การจัดการโลจิสติกส์เชิงโซ่อุปทานและการบริหารสินค้าคงคลัง


ภายใต้สถานการณ์ด้านต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ พลังงาน วัตถุดิบ ทำให้สภาพแวดล้อมของการผลิตสินค้าในภาคอุตสาหกรรม เป็นดั่ง แรงกดดันให้ผู้ผลิตต่างตื่นตัวเตรียมพร้อมรับมือด้วยการกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ อันมีผลตั้งแต่ช่วยให้แข่งขันได้ ครอบครองส่วนแบ่งทางการตลาดเหนือคู่แข่ง สร้างฐานลูกค้ากลุ่มใหญ่กว่าคู่แข่ง หรือแม้แต่เพื่อพยุงสถานะของตนเองให้อยู่รอด
โดยทั่วไปแล้ว ขั้นตอนในการผลิตสินค้าและบริการ เริ่มต้นจากการออกแบบสินค้า (Product Design) เลือก และรับวัตถุดิบ (Raw Material) เข้ามาแปรรูปให้เป็นสินค้า (Manufacturer) ก่อนที่จะกระจายสินค้า (Distribute) ไปยังศูนย์กระจายสินค้า หรือตัวแทนจำหน่าย เพื่อไปยังผู้บริโภคในที่สุด สายการผลิตดังกล่าวคือ โซ่คุณค่า หรือ Value Chain จากโซ่คุณค่าของการผลิตใดๆ ก็ตาม จะเห็นว่าแต่ละขั้นตอนจำเป็นต้องมีการประสานกันระหว่างหน่วยธุรกิจ มีข้อมูลที่เชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง ห่วงโซ่คุณค่าจึงเกี่ยวข้อง กับกระบวนการจัดซื้อจัดหา (Procurement) การผลิต (Manufacture) การจัดส่งสินค้า (Transportation) เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภค หรือลูกค้า (Customer) กระบวนการทั้งหมดนี้คือ โซ่อุปทาน (Supply Chain)
ในทุกๆ การผลิตจึงมีโซ่อุปทานเป็นส่วนสำคัญ การจัดการโซ่อุปทานด้วยแนวทางที่ถูกต้องสามารถ ลดต้นทุนการผลิต อันเป็นปัจจัยเอื้อให้แข่งขันได้ ในทางตรงกันข้าม การผลิตด้วยต้นทุน ที่สูงเป็นสภาพไม่พึงประสงค์ ผู้ผลิตต่างไม่ต้องการให้สภาวะดังกล่าวเกิดขึ้น เพราะนอกจากไม่เอื้อต่อการแข่งขันแล้ว ยังสร้างภาระให้ตกอยู่กับผู้ผลิตโดยตรง

โซ่อุปทานเกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์อย่างไร
ดร.กฤษฎ์ ฉันทจิรพร หัวหน้าทีมที่ปรึกษา โครงการการจัดการโซ่อุปทานใน SMEs กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และผู้จัดการทั่วไปสายอุตสาหกรรมเกษตร บริษัท มาลีสามพราน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวคิดเรื่องการจัดการโซ่อุปทานพัฒนาขึ้นมายาวนานกว่า 10 ปีแล้ว โดยเกิดขึ้นในบริษัทขนาดใหญ่ในอเมริกา ยุโรป ฮ่องกง เป็นลำดับแรกๆ เพราะผู้บริหารองค์กรได้ตระหนักว่าการเน้นจุดสนใจจากลูกค้าโดยปรับกระบวนการสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว เป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอ ยังจะต้องประสานร่วมกันภายในระหว่างหน่วยต่างๆ ด้วย เพื่อโอกาสสูงสุดในการพัฒนาการให้บริการ และลดค่าใช้จ่ายรวมของทั้งองค์กรของผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว เป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอ แต่ต้องประสานร่วมกันภายในระหว่างหน่วยต่างๆ เพื่อโอกาสสูงสุดในการพัฒนาการให้บริการและลดค่าใช้จ่ายรวมของทั้งองค์กร
“เรื่องของโซ่อุปทาน แรกเริ่มเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นการ ส่งมอบ ตั้งแต่ต้นถึงปลายสาย แต่แนวคิดนี้ค่อนข้างโบราณไปแล้ว เพราะมองจำกัดอยู่แค่การส่งมอบ การปรับปรุงในการส่งมอบ ได้ปรับไปจนไม่มีอะไรให้ปรับอีก เมื่อวิทยาการจัดการได้เกิดขึ้น มีผลการศึกษาออกมาเรื่อยๆ ก็มีผู้เห็นโอกาสในการบริหาร กระบวนการการเชื่อมโยงต่อเนื่องเข้ากับส่วนต่างๆที่อยู่ภายนอก เชื่อมโยงกับลูกค้า เชื่อมโยงกับซัพพลายเออร์ กับผู้ขนส่ง เพิ่มโอกาสมากมายที่ช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มความรวดเร็ว ในการส่งมอบสินค้า ผู้ผลิตต้องมองออกไปให้ไกลกว่าเดิม นำ โลจิสติกส์เข้ามาใช้ในโซ่อุปทาน เรียกว่า การจัดการโลจิสติกส์ ในเชิงโซ่อุปทาน”
โซ่อุปทานเกี่ยวข้องโดยตรงกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ การ ร่วมมือกันอย่างเป็นพันธมิตร สร้างความเป็นหุ้นส่วนทางการค้า ในโซ่อุปทานร่วมกัน กำหนดพันธกิจในการทำงานร่วมกันอย่าง ใกล้ชิดเพื่อสร้างคุณค่าแก่ลูกค้าให้เพิ่มขึ้นในที่สุด ด้วยต้นทุนและเวลาต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การจัดการโซ่อุปทานเป็นเรื่อง ของระบบโดยรวมตั้งแต่เริ่มไปจนถึงสิ้นสุดการผลิต ตั้งต้นจาก แหล่งของวัตถุดิบ (Supplier) ป้อนเข้ากระบวนการผลิตเป็นสินค้า ผ่านระบบกระจายสินค้าไปจนถึงผู้ใช้ ผู้ผลิตต้องวางแผนการ ควบคุมการผลิต จนกระทั่ง Distribution ไปถึงลูกค้า ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายใต้การบริหารการไหลเวียนของสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ และการไหลเวียนนั้นคือ โลจิสติกส์นั่นเอง
การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการวางแผน การปฏิบัติการ การติดตาม และประเมินผลของกิจกรรมในโซ่อุปทาน โดยมีวัตถุประสงค์ ในการสร้างคุณค่าในทุกขั้นตอนการผลิต ปรับอุปทานให้สอดคล้องกับอุปสงค์ ยกระดับงานให้เป็นสากล อาทิ ISO และ GMP ฯลฯ ซึ่งการจัดการโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพจะมีผลให้เกิดการ ไหลเวียนของ สิ่งสำคัญสามสิ่งในการผลิต ได้แก่ การไหลเวียนของสินค้าและบริการ (Physical Flow) การไหลเวียนของข้อมูลสารสนเทศ (Information Flow) และการไหลเวียนของเงินทุน (Fund Flow) อย่างมีประสิทธิภาพ
ในขณะที่ การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการของโซ่อุปทานประกอบด้วยการวางแผน การดำเนินการ การควบคุมการไหลเวียน การจัดเก็บ สินค้า การบริการและสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพจากจุดแหล่งกำเนิดของวัตถุดิบ ถึงจุดที่มีบริโภคหรือจุดที่มีการใช้งาน เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าหรือผู้บริโภค

โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ : มองภาพรวมไม่มองแยกส่วน
ทั้งโซ่คุณค่า โซ่อุปทาน และโลจิสติกส์ จึงมีความ เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันอย่างแยกจากกันไม่ได้ ทุกๆ ส่วนล้วน ส่งผลต่อกันทั้งกระบวนการผลิต หากขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไป ย่อมทำให้การผลิตชะงักไป และทำให้สถานะในการอยู่เป็น ส่วนหนึ่งโซ่อุปทานหลุดลอยไป
การนำหลักการทางโลจิสติกส์และโซ่อุปทานมาใช้ สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญคือทั้งโลจิสติกส์และโซ่อุปทานมีการโต้ตอบกัน ภายในแบบ Two Way Communication ทั้งโลจิสติกส์และ โซ่อุปทานต่างมาจากส่วนประกอบหลายส่วนรวมกัน แต่ละส่วน จึงต้องร่วมมือกันอย่างบูรณาการ ช่วยนำไปสู่ประสิทธิผลในการดำเนินงานในท้ายที่สุด
สิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารระบบ ได้ดียิ่งขึ้น คือการใช้การบริหารการไหลเวียนของระบบการสื่อสารและสารสนเทศมาช่วย แต่ก่อนอื่นต้องชัดเจนในหลักการ แนวคิด และวิธีการจัดการก่อน เมื่อผ่านจุดนั้นมาแล้ว ผู้ประกอบการ จะรู้ว่าควรใช้ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือช่วยให้มีการจัดการ ได้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร
ดร.กฤษฎ์ กล่าวว่า โลจิสติกส์สำคัญที่ความเร็ว ด้วยกิจกรรมมากมายที่รวมอยู่ในกระบวนการโลจิสติกส์ หากทุก กิจกรรมโลจิสติกส์เป็นไปอย่างรวดเร็ว ก็จะการสร้างความได้เปรียบแก่ธุรกิจ แต่ความเร็วไม่ใช่สิ่งเดียวของโลจิสติกส์ ยังมีสิ่งสำคัญ รองลงไปอีกหลายประการ เช่น ประสิทธิภาพ ความถูกต้อง และต้นทุนที่ไม่สูง ฯลฯ

แยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมการผลิต
ดร.กฤษฎ์ กล่าวต่อไปว่า ในโซ่อุปทานนั้นผู้บริหาร ต้องพิจารณาเรื่องการบริหารทรัพยากรไปทั้งระบบ กำหนด Material Plan (การบริหารจัดการวัสดุ) การจัดการสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งการจัดการทั้งวัตถุดิบและสินค้าก็ประกอบด้วยงานหลายส่วน
“เราต้องแบ่งว่าอะไรเป็นกิจกรรมหลัก อะไรเป็นกิจกรรมรอง หากเราแยกไม่ออกว่า กิจกรรมใดเป็นกิจกรรมหลัก กิจกรรมอะไรเป็นรองแล้ว เราจะบริหารไม่ยั่งยืน กิจกรรมหลัก อาทิ การทำการขาย, การจัดหาจัดซื้อ, การผลิต, การจัดเก็บ, การส่งมอบ จนถึงการบริการหลังการขาย ส่วนนี้หลายองค์กรมีเป็นหลัก แต่ทำแค่นี้ไม่พอ จะต้องทำอย่างอื่นเพิ่มด้วยก็คือ มีกิจกรรม มีกระบวนการสนับสนุน อาทิ การทำการเงินและบัญชี ระบบสารสนเทศ ระบบการบริหารการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เรื่อง ของการ Training อบรมบริหารองค์ความรู้ขององค์กร ทั้งหมดนี้รวมกันเพิ่มคุณค่า เพิ่มกำไร”
เนื่องจากโลจิสติกส์ครอบคลุมกิจกรรมหลายอย่างด้วยกัน แต่ละกิจกรรมต่างเป็นองค์ประกอบของระบบที่ต้องประสานให้ แต่ละกิจกรรมดำเนินไปอย่างสอดคล้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่สามารถแยกให้ส่วนใดส่วนหนึ่งดำเนินไปอย่างแยกส่วน และที่สำคัญการดำเนินกิจกรรมทุกส่วนของโลจิสติกส์ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกหลายประการทั้งภายในและภายนอกองค์กร อาทิ โครงสร้างภายในองค์กร นโยบายของผู้บริหาร ความสำคัญของกิจกรรมในแต่ละส่วนต่อการผลิตโดยรวมขององค์กร โดยทั่วไป กิจกรรมทางโลจิสติกส์จึงนำมาจัดแบ่งลำดับความสำคัญได้ เป็นสองส่วน คือ กิจกรรมหลัก และกิจกรรมรอง
กิจกรรมหลัก (Key Activities) เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญมากกว่ากิจกรรมรอง เกิดขึ้นเป็นประจำ มีความสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์ ได้แก่ การขนส่ง, การวางแผนการกระจายสินค้าและจำหน่าย, การดำเนินการสั่งซื้อ, การกำหนดการให้บริการ แก่ลูกค้า และการบริหารสินค้าคงคลัง
กิจกรรมรอง (Support Activities) หรืออาจเรียกว่ากิจกรรมเสริม เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามโอกาส อาจไม่พบใน บางสายการผลิต ได้แก่ การบรรจุหีบห่อ การจัดการคลังสินค้า การวางแผนการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต การ ประสานงานกับฝ่ายผลิต การมุ่งสู่มาตรฐานสากล

ความบกพร่องที่พบในการบริหารโซ่อุปทาน และสิ่งที่ควรคำนึงถึง
เพราะหัวใจของโซ่อุปทานอยู่ที่การบูรณาการ ภาพรวมประกอบขึ้นจากทุกฝ่าย ส่งผลไปจนถึงลูกค้า และซัพพลายเออร์ เพราะฉะนั้น ผู้บริหารควรรู้จักและเข้าใจการบูรณาการในเรื่องของกระบวนการเชื่อมโยง ผสมผสานกับภายนอก อันหมายถึง ลูกค้าและซัพพลายเออร์เป็นสำคัญ
“เรื่องโซ่อุปทาน ถ้าหากไม่มีการเก็บข้อมูลระหว่างลูกค้า การปฏิบัติงานก็ไม่มีความสอดคล้องซึ่งกันและกัน มีการจัดเก็บสินค้าคงคลังไม่ดี ไม่เกินก็ขาด ไม่พอดี เงื่อนไขโซ่อุปทานที่ดี คือมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ค้า มองในโซ่อุปทานดูทั้งกระบวนการแล้วเราก็จะเห็นว่าส่วนใดสอดคล้องหรือเพิ่มมูลค่า เราได้ก็ส่งเสริมส่วนนั้น ขณะเดียวกัน กิจกรรมหลายๆ อย่าง ถ้าเราไม่วิเคราะห์เรื่องของต้นทุนก็อาจมีหลายตัวที่เป็น Cost Driver เป็นตัวผลักดันไม่ให้เกิดคุณค่า ไปผลักดันให้เกิดต้นทุน บั่นทอนสุขภาพองค์กรด้วยซ้ำไป”
กิจกรรมต่างๆ ในโซ่อุปทานไม่สามารถดำเนินไปลำพัง การนำโซ่อุปทานมาใช้ทำให้องค์กรมีโฟกัส มีความมุ่งมั่นที่ชัดเจนมากขึ้น มีทิศทางเดียวกันมีเป้าหมายเดียวกัน เรียกว่า Functional Goal ไม่ขัดแย้งกันเอง ดังนั้น ความร่วมมือจึงดีขึ้น โซ่อุปทาน ยังทำให้การจัดสรร Asset ที่องค์กรมีอยู่เป็นไปอย่างคุ้มค่า เกิดประสิทธิภาพ ได้สินค้าจำนวนมากที่สุด ทำให้สามารถ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ เรื่องของ Customer Service เป็นไปอย่างเหมาะสม เพราะเมื่อทราบว่าตลาดอยู่ตรงไหน Target เป็นอย่างไร ก็สามารถปรับ ดีไซน์ ออกแบบกระบวนการของเรา ตั้งเป้าหมายได้ว่าจะเลือกใช้สารสนเทศประเภทไหนระดับใด
“การจัดการโซ่อุปทานสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค หมายถึงความสามารถส่งสินค้าให้ผู้บริโภค ได้แก่ผู้ซื้อสินค้าปลีก เกิดศัพท์ใหม่ในการบริหาร Store คือการจัดการ Store เรียกว่า Store Keeping Unit (SKU) จัดการของที่อยู่ใน Store อย่างไรให้สินค้าเกิดกำไรที่พอเหมาะ รวมถึงเรื่องของ Optimize Promotion ทำอย่างไรให้การส่งเสริมการขายได้ผล การจัด หมวดหมู่สินค้า การจัดพื้นที่ว่างให้เป็นประโยชน์สอดคล้องกับ ความต้องการผู้บริโภค หรือ Space Management เมื่อผู้บริโภคบริโภคสินค้าแล้ว ก็มีสิ่งที่ไม่ต้องการตามมา มีของเสีย เรื่องของสิ่งแวดล้อมจึงเกี่ยวข้องกับโซ่อุปทานด้วย ทำอย่างไรให้โซ่อุปทานของธุรกิจเป็นไปอย่างยั่งยืน คำนึงถึงสภาพแวดล้อม ไม่คำนึงถึงผลกำไรเพียงอย่างเดียว”


ความสำคัญของการจัดการสินค้าคงคลัง
เมื่อผลิตเป็นสินค้าแล้วก็จำเป็นต้องจัดการให้จำนวน สินค้ากระจายออกไป ก่อนที่สินค้าจะถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย จะมีคลังสินค้าเป็นเสมือนหน่วยกลางระหว่างหน่วยผลิตและ หน่วยบริโภค ในอดีต สินค้าที่เก็บในคลังเป็นผลิตผลทางการเกษตร เก็บเพื่อรอจนกว่าฤดูเก็บเกี่ยวจะมาถึงอีกครั้งหนึ่ง ทำให้สินค้า ไม่มีความเคลื่อนไหว (Dead Stock) ซึ่งไม่เป็นที่นิยมในหลักการจัดเก็บสินค้าคงคลังยุคปัจจุบันมากนัก สมัยนี้สินค้าควรมีการ หมุนเวียนอยู่เสมอเพื่อความสดใหม่
การหมุนเวียนเข้าออกใช้หลัก FIFO (First In First Out) สินค้าใดที่เข้าคลังสินค้าก่อนก็หมุนเวียนออกไปก่อน เพื่อลดความเสื่อมจากการจัดเก็บเป็นเวลานาน ในซัพพลายเชนการจัดเก็บสินค้ายังเป็นส่วนที่สร้างต้นทุนไม่ว่าจะเป็นที่ซัพพลายเออร์, โรงงานผู้ผลิต, ผู้ค้าปลีก, ผู้ค้าส่ง, การจัดเก็บ และการกระจายสินค้า จึงเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของโลจิสติกส์
สินค้าคงคลัง (Inventory) หมายถึงวัสดุหรือสินค้าต่างๆที่เก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงาน อาจเป็นการดำเนินงานผลิต ดำเนินการขาย หรือดำเนินงานอื่นๆ ส่วนการจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) หมายความถึงการเก็บทรัพยากรไว้ใช้ในปัจจุบัน หรือในอนาคต เพื่อให้การดำเนินการของกิจการดำเนินไปอย่างราบรื่น ผ่านการวางแผนกำหนดปริมาณสินค้าคงคลังที่เหมาะสม
สินค้าคงคลังแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ วัตถุดิบ งานระหว่างผลิตหรืองานระหว่างปฏิบัติการ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการบำรุงรักษาและผลิต และสินค้าสำเร็จรูป
ถ้าหากไม่มีสินค้าคงคลัง การผลิตก็อาจจะไม่ราบรื่น โดยทั่วไปฝ่ายขายค่อนข้างพอใจหากมีสินค้าคงคลังจำนวนมากๆ เพราะให้ความรู้สึกราบรื่น อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของสินค้าคงคลังคือ รักษาความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ทำให้เกิดการประหยัด ต่อขนาด (Economy of Scale) เพราะการสั่งซื้อจำนวนมากๆ เป็นการลดต้นทุน และคลังสินค้าช่วยเก็บสินค้าปริมาณมากนั้น
แต่สินค้าคงคลังก็ถือเป็น Cost โดยตรง การพยากรณ์อุปสงค์เพื่อทราบจำนวนผลิตจึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับสินค้าคงคลังและป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ในกรณีที่โรงงานมีวัตถุดิบมาเป็นจำนวนมาก หากสินค้าคงคลังมีมากเกินไปก็เสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสูงผิดปกติ หากมีน้อยเกินไปก็อาจรบกวนสมดุลตลาด หรือทำให้การผลิตติดขัด
“ช่วงที่อุปทานสูง อย่างเช่นฤดูลำไยล้นตลาด ราคาก็ จะตก รายได้ของเกษตรก็ลดลง แก้ปัญหาอย่างไรดี รัฐบาลก็ เข้ามาช่วย โดยการเรียกผู้ผลิตผลไม้กระป๋องเจ้าใหญ่ๆ มาช่วย รับซื้อไปเป็นพันๆ ตัน จึงต้องมีสินค้าคงคลัง มีกำลังผลิตก็ผลิต ไปเลย แล้วเก็บสต็อกเอาไว้ก่อน ไว้ขายช่วงนอกฤดู การที่เราผลิตมากๆ มองในแง่ดีคือช่วยให้คนงานมี Skill มากขึ้น ประโยชน์ อีกประการหนึ่งคือ เก็บสินค้าสำรองไว้เพื่อป้องกันการขาดแคลน หรือ Out of Stock และเพื่อทำให้ระบบการผลิต การซื้อสินค้า เป็นอิสระ”
“แต่กลไกตลาดที่มีอุปสงค์และอุปทานเป็นตัวบ่งชี้ ในเวลาที่ตลาดมีความต้องการมากคือ มีอุปสงค์สูง ผู้ผลิตก็อาจจะผลิตสินค้าไม่ทัน เกิดวัตถุดิบขาดไปอย่างหนึ่งก็อาจร้ายแรงถึงขั้น สูญเสียฐานลูกค้าไปเลยก็ได้ ในอีกด้านหนึ่งหากอุปสงค์ต่ำมาก สินค้าขายไม่ดี วัตถุดิบล้นไม่ได้ทำการผลิตก็เก็บไว้เฉยๆ ผู้ผลิตก็แบกรับต้นทุนอีก การคาดคะเนอุปสงค์จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้”

คลังสินค้าคือสถานที่รักษาสินค้าคงคลัง ส่วนคลังสินค้า (Warehouse)
คือสถานที่สำหรับวาง จัดเก็บ พัก กระจายสินค้าคงคลัง คลังสินค้ามีชื่อเรียกได้ต่างๆ กัน อาทิ ศูนย์กระจายสินค้า, ศูนย์จำหน่ายสินค้า และโกดัง ฯลฯ คำว่าคลังสินค้าจึงเป็นคำที่มีความหมายรวมๆ ส่วนจะเรียกว่าอะไร ก็ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันของคลังสินค้าแต่ละประเภท คลังสินค้าที่รับ สินค้าเข้ามาทำการคัดแยก แล้วกระจายออกไป เรียกว่า ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) และกระบวนการ ดังกล่าว เรียกว่า Cross Docking
ในขณะที่คลังสินค้าบางแห่งมีฟังก์ชันเพิ่มขึ้นมาคือหลัง รับสินค้าเข้ามาแล้ว ก็เก็บสินค้าไว้และทำหน้าที่จัดสรรสินค้าก่อนส่งมอบตามคำสั่งซื้อ จึงมีขั้นตอนย่อยประกอบด้วย รับสินค้าเข้า จัดเก็บ จัดสินค้าตามใบสั่งซื้อ (Order Picking) อันเป็นขั้นตอน ที่ใช้เวลาและกำลังคนมากที่สุด ตรวจสอบ หีบห่อ และจัดส่ง กล่าวคือ รับหน้าที่ในการจำหน่ายไว้ด้วย จึงเรียกว่าศูนย์จำหน่ายสินค้า การลดเวลาและขั้นตอนในศูนย์จำหน่ายสินค้าทำได้ด้วย การนำคอมพิวเตอร์ช่วยออกใบสั่งซื้อ
อย่างไรก็ตาม ข้อควรคำนึงถึงเกี่ยวกับคลังสินค้ายังรวมถึง ประเด็นเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของสายการผลิต การจำหน่าย และการกระจายสินค้าที่ไม่มีคลังสินค้าเป็นของตัวเอง ไม่ต้องการสร้างคลังสินค้าเองอาจใช้บริการเช่าคลังสินค้าสาธารณะ และประเด็นเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง คลังสินค้าควรตั้งในจุดที่ตอบสนอง ผู้ใช้ได้อย่างลงตัว

คลังสินค้าเป็นทั้ง Inbound และ Outbound ของวัตถุดิบและสินค้า
ด้วยเหตุผลที่สินค้าคงคลังมีหลายประเภท Input ของ คลังสินค้าจึงแตกต่างกันไป อาจมีจุดเริ่มต้นจากซัพพลายเออร์นำวัตถุดิบมาป้อนให้คลังสินค้า หรือฝ่ายพัสดุนำ MRO (Maintenance Repair and Operation Supply ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำรุงรักษาและสนับสนุนการผลิต) มามอบให้ฝ่ายผลิต ผู้ผลิตสินค้านำสินค้าสำเร็จ ส่งเข้าคลังสินค้าและกระจายไปยัง ผู้บริโภค ฯลฯ วงจรดังกล่าวเป็น Spec ทั่วไปของสินค้าคงคลัง
ความไม่แน่นอนของอุปสงค์ทำให้ผู้ผลิตต้องวางแผนและคำนวณว่า จะจัดสรรปันส่วนการผลิตเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อนำ สินค้าคงคลังมาสร้างคุณค่าโดยการผลิตให้เป็นสินค้า การวางแผนจะทำให้ทราบว่าควรผลิตจำนวนเท่าใดควรจัดเตรียมวัตถุดิบ แต่ละชนิดจำนวนเท่าไร
ในวัตถุดิบที่มีอายุสั้นอย่างผักผลไม้ การวางแผนสั่งวัตถุดิบค่อนข้างจำเป็นมาก เพราะสินค้าไม่มีความเป็นอิสระ มีเงื่อนไข ด้านเวลาเป็นข้อจำกัด หากต้องการให้อิสระอาจนำเข้าห้องเย็น แต่เป็นการเพิ่มต้นทุน การทราบอุปสงค์ทำให้ได้ข้อมูลของวัตถุดิบที่สินค้าคงคลังส่งผลต่อเนื่องต่อระบบการผลิตและจำหน่ายสินค้า
คลังสินค้ามีความสำคัญในแง่ที่เป็นทั้งทางเข้าและทางออกของวัตถุดิบไปจนถึงสินค้าสำเร็จรูป ดังนั้นก่อนการพยากรณ์ อุปสงค์ จึงจำเป็นต้องเข้าใจการจัดหาวัตถุดิบ/สินค้า (Supply) เข้าใจแนวคิดการจัดการวัตถุดิบและแนวคิดการกระจายสินค้า

แนวโน้มของอุปสงค์แบ่งได้เป็นสี่ประเภทและวิธีการคำนวณอุปสงค์
การทำนายอุปสงค์ใช้ข้อมูลอุปสงค์ในอดีตมาทำนาย แนวโน้มของอุปสงค์มีการเปลี่ยนแปลงไปในสี่แบบด้วยกัน คือ ตามแนวโน้ม (เมื่อแสดงด้วยกราฟให้แกนนอนเป็นเวลา และแกนตั้งเป็นจำนวนอุปสงค์ เส้นกราฟจะเฉียงขึ้นหรือลง) คือความต้องการในสินค้านั้นเพิ่มขึ้นหรือลดลงไปตามลำดับ ตามฤดูกาล (เส้นกราฟโค้งเป็นระฆังคว่ำ) คือ อุปสงค์เพิ่มสูงเป็นพิเศษช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละปี อย่างสินค้าเครื่องทำน้ำอุ่นที่ขายดีในฤดูหนาว ตามวัฏจักร (เส้นกราฟเป็นรูปคลื่น) อุปสงค์ขึ้นและลงเป็นวัฏจักรวนเวียนไปตลอดปี อย่างสินค้าชุดนักเรียนที่เป็นที่ต้องการสูงตอนเปิดเทอม ซึ่งปีหนึ่งมีสองครั้ง สุดท้ายคือ แบบ ไร้เงื่อนไข (เส้นกราฟขึ้น-ลง ไม่แน่นอน) ไม่สามารถอธิบายด้วยแนวโน้มแบบใดแบบหนึ่งได้
การทำนายอุปสงค์จึงเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดการเก็บข้อมูล โดยทั่วไปการเก็บข้อมูลอุปสงค์เป็นรายเดือนเป็นความถี่ในระดับที่ทุกหน่วยผลิตจะบันทึกเป็นประจำอยู่แล้ว การทำนายอุปสงค์ ทำได้โดยคำนวณข้อมูล ณ จุดใดจุดหนึ่ง โดยอุปสงค์ก่อนและ หลังจากนั้นในการคำนวณด้วย โดยใช้หลักการหาค่าเฉลี่ย
ตัวอย่างเช่น โรงงาน ก. มีการเก็บข้อมูลยอดขายเป็นประจำทุกเดือน ได้เก็บข้อมูลยอดขายมาตลอดปี พ.ศ. 2547 ตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม เมื่อนำอุปสงค์ของเดือนธันวาคม 2546 เดือนมกราคม 2547 และกุมภาพันธ์ 2547 มารวมกันหารสาม ก็จะได้อุปสงค์เฉลี่ยของเดือนมกราคม 2547 หาก ต้องการค่าอุปสงค์เฉลี่ยของเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ก็ต้องคำนวณหาค่าเฉลี่ยคือ นำอุปสงค์เดือนมกราคม 2547 กุมภาพันธ์ 2547 และมีนาคม 2547 รวมกันหารด้วยสาม เมื่อคำนวณเช่นนี้ ไปเรื่อยๆ จนครบทุกเดือน ก็จะได้ค่าแนวโน้มอุปสงค์ของทุกเดือนในปีต่อไป และเมื่อนำจำนวนอุปสงค์ค่าเฉลี่ยความเคลื่อนไหว ที่คำนวณได้มาพล็อตกราฟ ก็จะได้แนวโน้มของอุปสงค์ในอนาคต คือแนวโน้มอุปสงค์ของปี พ.ศ. 2548
ทั้งนี้ การทำนายอุปสงค์ก็อาจมีความคลาดเคลื่อน เพราะยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่ออุปสงค์ได้ เช่น ทิศทางเศรษฐกิจระดับโลก ระดับประเทศ การทำการตลาดของคู่แข่ง การคำนวณตาม หลักการทำนายอุปสงค์เป็นเครื่องมือที่พอจะให้ภาพกว้างๆ แต่ไม่สามารถยืนยันได้ และการทำนายอุปสงค์ต้องพิจารณาปัจจัยอื่น คู่กันไปด้วย
เมื่อสามารถทำนายอุปสงค์ได้ รู้หลักการบริหารคลังสินค้าแล้ว ก็ประสานงานกันในสายโซ่อุปทานเพื่อให้ส่งมอบและรับสินค้าตามแผนที่ได้กำหนด หลักของการจัดการสินค้าคงคลังอยู่อย่างหนึ่งคือ ใช้หลัก CPFR C คือ Co-operative เป็นความร่วมมือ P คือ Planning การวางแผนกัน F คือ Forecasting การ คาดคะเน ส่วน R คือ Replenishment คือการเติมสินค้า



RFID เทคโนโลยีน้องใหม่มาแรง
ด้วยข้อมูลที่ไหลเวียนอยู่เป็นปริมาณมากในโซ่อุปทาน ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทอย่างมากให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ สารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเสริมสมรรถนะ ช่วยในการจัดการโซ่อุปทาน โดยสารสนเทศส่วนใหญ่ที่มักจะพบว่าธุรกิจนำมาเป็นเครื่องมือช่วยในโซ่อุปทาน มีดังต่อ ไปนี้
EDI (Electronic Data Interchange) หรือการส่งผ่าน ข้อมูลตามมาตรฐานที่ถูกกำหนดไว้ ถูกนำมาใช้ทั้งในกิจการผลิตสินค้า งานบริการ การพาณิชย์ EDI ช่วยส่งผ่านเอกสารในการซื้อขายตั้งแต่ใบสั่งซื้อ ใบสั่งปล่อยวัสดุ ใบกำกับสินค้า ใบแจ้งการขนส่ง ใบรายงานสถานะการขนส่ง ช่วยโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ EDI แบ่งออกเป็นระบบเจ้าของคนเดียว มีประสิทธิภาพการ ควบคุมในระดับดี และระบบโครงข่ายมูลค่าเพิ่ม เป็นบริษัทบุคคลที่ 3 ผู้ให้บริการ EDI
หากองค์กรใดนำ EDI มาใช้ องค์กรนั้นต้องปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ ทั้งการวางระบบและฝึกอบรมพนักงานให้ใช้ EDI ได้อย่างเชี่ยวชาญและถูกต้อง การปรับเปลี่ยนองค์กรรู้จักกันในนาม Reengineering ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนยุ่งยากพอสมควร ในเรื่องของข้อมูลนั้นองค์กรต้องคำนึงและแยกแยะด้วยว่า ข้อมูลใดที่แลกเปลี่ยนและเปิดเผยกันระหว่างโซ่อุปทานได้ ข้อมูลใด เป็นความลับที่ห้ามเผยแพร่สู่ภายนอก เพราะไม่มีองค์กรใดที่ เปิดเผยข้อมูลของตนได้ทั้งหมด 100%
บาร์โค้ด คือ กลุ่มของแท่งที่วางตัวในแนวขนานกัน แต่ละแท่งมีคุณสมบัติต่างกันทั้งความกว้าง ตัวอักษร ตัวเลข บาร์โค้ดต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์ในการอ่าน (Scanner) ซึ่งทำหน้าที่ส่งรังสีจากข้อมูลนั้นไปยังคอมพิวเตอร์ มีประโยชน์สำคัญทำให้เกิด การขยายขอบข่ายระบบสารสนเทศในองค์กรมาเชื่อมโยงกับ EDI ได้ อย่างไรก็ตามบาร์โค้ดเป็นเทคโนโลยีที่กำลังจะล้าสมัยในไม่ช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา
“RFID หรือ Radio Frequency Identification เป็นเทคโนโลยีที่กำลังจะมาแทนบาร์โค้ด เมื่อต้นปี Wal-Mart เชนค้าปลีกเจ้าใหญ่ในสหรัฐฯ บังคับให้ผู้ส่งมอบสินค้านำ RFID หรือการรายงานตัวโดยใช้คลื่นวิทยุ มาใช้ RFID ช่วยลดปัญหาการรักษาระดับสินค้าคงคลัง จะเป็นชิปตัวเล็กๆ ติดอยู่กับสินค้า สามารถส่งข้อมูลได้ เริ่มตั้งแต่บอกว่าสินค้านั้นออกจากโรงงานผลิตแล้ว และกำลังจะไปขึ้นรถ กำลังอยู่ในคลังสินค้า กำลังวางจำหน่าย อยู่บน Shelf ไปจนถึงกำลังซื้อขาย จากนั้นพนักงานก็จะสแกนเครื่องให้ส่งสัญญาณปิดวงจรในชิป และก็จะไม่สามารถใช้งาน ได้อีก คาดกันว่าตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ความชัดเจนของการใช้ RFID ในอเมริกา น่าจะมีมากขึ้น และจะทยอยใช้กับสินค้าจนครบทุกไลน์ และขยายไปยังค้าส่งและค้าปลีกเชนอื่นด้วย”
พาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ (E-Commerce) เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการค้ายุคใหม่อย่างแท้จริง สร้างช่องทางในการค้าที่ลดข้อจำกัดต่างๆลงไป ทั้งเวลา สถานที่ และระยะทาง พาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์สามารถตอบสนองได้ทั้งการค้าระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ในการจัดซื้อ จัดหา การสั่งผลิต การขนส่ง ไม่ว่าร้านค้าสั่งซื้อสินค้าจากผู้จัดจำหน่าย ผู้จัดจำหน่ายสั่งซื้อ วัตถุดิบจากผู้ผลิต และผู้ผลิตซื้อวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตจากซัพพลายเออร์ และระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C)
ซอฟต์แวร์และระบบต่างๆ ปัจจุบันซอฟท์แวร์ที่มีหน้าที่ต่างๆ อันช่วยในการสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานนิยมใช้กันอย่าง แพร่หลาย มีชื่อเรียกตามการใช้งาน เช่น ERP (Enterprise Resource Planning) เป็นระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร ที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมสูงสุด, DRP (Distribution Requirement Planning) หรือระบบการวางแผนความต้องการกระจายสินค้า, WMS (Warehouse Management Systems) หรือระบบการบริหารคลังสินค้า
นอกจากเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ทักษะบุคลากรสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน การทำงานร่วมกันเป็นทีม ปฏิบัติงานกัน อย่างสอดคล้องกันทั้งระบบ ไม่ควรละเลยการฝึกอบรมบุคลากร ให้มีทักษะการปฏิบัติงานและทัศนคติที่ดีต่อการทำงานด้วย ช่วยลดโอกาสในการเกิดความผิดพลาดจาก Human Error สร้างประโยชน์ให้องค์กรได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
ในตอนท้าย ดร.กฤษฎ์ ยังแนะนำผู้ประกอบธุรกิจ นักอุตสาหกรรม และผู้กระจายสินค้าว่าไม่ควรมองข้ามประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันวัสดุที่ใช้แล้วทิ้งกำลังได้รับความนิยม ลดลง วัสดุที่ผลิตจากการรีไซเคิล หรือนำกลับมาใช้ได้ใหม่เป็นที่นิยมเพิ่มขึ้น
แนวโน้มการประกอบกิจกรรมโลจิสติกส์ทั่วโลกต่างมุ่งไปในแนวทาง Clean Logistics มากขึ้น มีการจัดสรรและวางแผนให้ผู้ประกอบการร่วมกันใช้อุปกรณ์ช่วยในการขนส่งร่วมกัน ประสานงาน วางแผนและร่วมมือกันเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดการสูญเปล่าในการขนส่ง ใช้พื้นที่การขนส่งและพลังงานอย่างคุ้มค่า ในส่วนของยานพาหนะ รถบรรทุกที่ขนส่งตามหลัก Clean Logistics คือ รถที่ลดการปล่อยควันพิษอย่าง CO และ NoX
นอกจากนี้ การจัดให้สภาพแวดล้อมในสถานประกอบการและสภาพแวดล้อมขณะปฏิบัติงานถูกสุขลักษณะ จัดสรรบุคลากรให้เข้ากับงานอย่างเหมาะสม นอกจากมาตรฐานในการปฏิบัติงานแล้วจึงควรทำให้คนกับระบบเข้ากันได้ดี เพราะเป้าหมายของการประกอบธุรกิจที่ดีย่อมไม่มุ่งสู่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว


ที่มา : การสัมมนา “การจัดการโลจิสติกส์เชิงโซ่อุปทานและการบริหารสินค้าคงคลัง” โดย ส่วนเชื่อมโยงการผลิต สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, กันยายน 2547













คลังสินค้าคืออะไร



คลังสินค้า (Warehouse) คือสถานที่สำหรับวาง จัดเก็บ พัก กระจายสินค้าคงคลัง คลังสินค้ามีชื่อเรียกได้ต่างๆ กัน อาทิ ศูนย์กระจายสินค้า, ศูนย์จำหน่ายสินค้า และโกดัง ฯลฯ คำว่าคลังสินค้าจึงเป็นคำที่มีความหมายรวมๆ ส่วนจะเรียกว่าอะไร ก็ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันของคลังสินค้าแต่ละประเภท คลังสินค้าที่รับ สินค้าเข้ามาทำการคัดแยก แล้วกระจายออกไป เรียกว่า ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) และกระบวนการ ดังกล่าว เรียกว่า Cross Docking ในขณะที่คลังสินค้าบางแห่งมีฟังก์ชันเพิ่มขึ้นมาคือหลัง รับสินค้าเข้ามาแล้ว ก็เก็บสินค้าไว้และทำหน้าที่จัดสรรสินค้าก่อนส่งมอบตามคำสั่งซื้อ จึงมีขั้นตอนย่อยประกอบด้วย รับสินค้าเข้า จัดเก็บ จัดสินค้าตามใบสั่งซื้อ (Order Picking) อันเป็นขั้นตอน ที่ใช้เวลาและกำลังคนมากที่สุด ตรวจสอบ หีบห่อ และจัดส่ง กล่าวคือ รับหน้าที่ในการจำหน่ายไว้ด้วย จึงเรียกว่าศูนย์จำหน่ายสินค้า การลดเวลาและขั้นตอนในศูนย์จำหน่ายสินค้าทำได้ด้วย การนำคอมพิวเตอร์ช่วยออกใบสั่งซื้อ



อย่างไรก็ตาม ข้อควรคำนึงถึงเกี่ยวกับคลังสินค้ายังรวมถึง ประเด็นเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของสายการผลิต การจำหน่าย และการกระจายสินค้าที่ไม่มีคลังสินค้าเป็นของตัวเอง ไม่ต้องการสร้างคลังสินค้าเองอาจใช้บริการเช่าคลังสินค้าสาธารณะ และประเด็นเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง คลังสินค้าควรตั้งในจุดที่ตอบสนอง ผู้ใช้ได้อย่างลงตัว



คลังสินค้าเป็นทั้ง Inbound และ Outbound ของวัตถุดิบและสินค้า ด้วยเหตุผลที่สินค้าคงคลังมีหลายประเภท Input ของ คลังสินค้าจึงแตกต่างกันไป อาจมีจุดเริ่มต้นจากซัพพลายเออร์นำวัตถุดิบมาป้อนให้คลังสินค้า หรือฝ่ายพัสดุนำ MRO (Maintenance Repair and Operation Supply ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำรุงรักษาและสนับสนุนการผลิต) มามอบให้ฝ่ายผลิต ผู้ผลิตสินค้านำสินค้าสำเร็จ ส่งเข้าคลังสินค้าและกระจายไปยัง ผู้บริโภค ฯลฯ วงจรดังกล่าวเป็น Spec ทั่วไปของสินค้าคงคลัง ความไม่แน่นอนของอุปสงค์ทำให้ผู้ผลิตต้องวางแผนและคำนวณว่า จะจัดสรรปันส่วนการผลิตเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อนำ สินค้าคงคลังมาสร้างคุณค่าโดยการผลิตให้เป็นสินค้า การวางแผนจะทำให้ทราบว่าควรผลิตจำนวนเท่าใดควรจัดเตรียมวัตถุดิบ แต่ละชนิดจำนวนเท่าไร ในวัตถุดิบที่มีอายุสั้นอย่างผักผลไม้ การวางแผนสั่งวัตถุดิบค่อนข้างจำเป็นมาก เพราะสินค้าไม่มีความเป็นอิสระ มีเงื่อนไข ด้านเวลาเป็นข้อจำกัด หากต้องการให้อิสระอาจนำเข้าห้องเย็น แต่เป็นการเพิ่มต้นทุน การทราบอุปสงค์ทำให้ได้ข้อมูลของวัตถุดิบที่สินค้าคงคลังส่งผลต่อเนื่องต่อระบบการผลิตและจำหน่ายสินค้า คลังสินค้ามีความสำคัญในแง่ที่เป็นทั้งทางเข้าและทางออกของวัตถุดิบไปจนถึงสินค้าสำเร็จรูป ดังนั้นก่อนการพยากรณ์ อุปสงค์ จึงจำเป็นต้องเข้าใจการจัดหาวัตถุดิบ/สินค้า (Supply) เข้าใจแนวคิดการจัดการวัตถุดิบและแนวคิดการกระจายสินค้า



คลังสินค้า (Warehouse) คือ สถานที่ใช้ในการเก็บรักษาสินค้าให้อยู่ในสภาพและคุณภาพที่พร้อมจะนำส่งมอบให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ร้องขอ โดยอาจเรียกเป็นชื่ออื่นๆ เช่น คลังสินค้า (Warehouse) , โกดัง (Godown) , ที่เก็บของ (Storage) , ที่เก็บสินค้า (Whaft) , คลังพัสดุ (Depot) , ฉางเก็บสินค้า (Silo) , แท็งค์เก็บของเหลว (Liquid Tank) , คลังทัณฑ์บน (Bonded Warehouse) โดยไม่ว่าจะเรียกว่าอะไร คลังสินค้าก็จะทำหน้าที่เหมือนกัน คือ เป็นสถานที่เก็บรักษาสินค้าหรือวัตถุดิบหรือสิ่งของต่างๆ เพื่อสนับสนุนในกิจกรรมต่างๆของกระบวนการ Supply Chain



ประเภทของคลังสินค้าแบ่งตามลักษณะทางกายภาพ (Physical) ได้เป็น

1.คลังสินค้าที่มิดชิด มีกำแพง เพดาน และประตู ได้แก่ คลังสินค้าทั่วไป ซึ่งบางแห่งจะมีการควบคุมอุณหภูมิ หรือ มีการติดตั้งเครื่องทำความเย็น (Frozen Warehouse)

2.คลังสินค้าที่มีแต่หลังคา แต่ไม่มีผนัง ใช้ในการเก็บสินค้าซึ่งไม่เสียหายจากสภาวะอากาศ มักเป็นสินค้าขนาดใหญ่และมีน้ำหนัก ซึ่งโอกาสที่จะเสียหายหรือสูญหายได้ยาก

3.คลังสินค้ากลางแจ้ง พื้นต้องเป็นคอนกรีต มีการยกพื้น มีระบบป้องกันน้ำท่วม ไม่มีหลังคา หรือสิ่งก่อสร้าง หากไม่มีคุณสมบัติดังกล่าวก็ไม่ถือเป็นคลังสินค้ากลางแจ้งแต่อาจเป็นลานวางสินค้าทั่วไป คลังสินค้ากลางแจ้ง อาจได้แก่ ลานที่ใช้ในการเรียงกองตู้คอนเทนเนอร์ เช่น ตาม ICD หรือ ท่าเรือ หรือ สนามบิน นอกจากนี้ยังได้แก่ คลังสินค้ากลางแจ้ง ใช้เก็บสินค้าที่มีขนาดใหญ่ หรือสินค้า เทกอง หรือพืชไร่ แร่ธาตุต่างๆ

4.คลังสินค้าที่เป็นถัง (Tank) หรือ สิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่สินค้านำเข้าหรือเอาออก โดยวิธีดูดผ่านท่อ (Pipe) เช่น คลังเก็บน้ำมัน เก็บเคมี หรือ Silo เก็บอาหารสัตว์ , สินค้าการเกษตรต่างๆ

5.คลังสินค้าเคลื่อนที่ได้ ได้แก่ ระวาง (Deck) ของเรือสินค้า หรือเครื่องบินหรือโบกี้เก็บสินค้าของรถไฟหรือตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าที่ใช้เป็นสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรอการส่งมอบ

6.คลังเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิคส์ (Data Bank) เช่น Server ที่ใช้เก็บข้อมูล ซึ่งปัจจุบันถือเป็นสินค้าประเภทหนึ่ง ซึ่งสามารถส่งมอบให้ผู้ที่ต้องการ โดยวิธี Down Load ผ่านเครือข่าย Network เช่น Web site เป็นต้น


การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) ได้แก่ รายการสินค้าสำเร็จรูป , สินค้าระหว่างการผลิต , วัตถุดิบ , วัสดุสิ้นเปลือง , ทรัพย์สินสิ่งของ ซึ่งทั้งหมดจะต้องมีลักษณะที่เป็นของที่สามารถโยกย้ายได้ที่เรียกว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถือเป็นของที่มีมูลค่าอันอาจถือกรรมสิทธิถือครองและเปลี่ยนมือความเป็นเจ้าของได้ โดยสินค้าจะต้องคู่กับคลังสินค้าและเป็นส่วนสำคัญที่สุดของระบบ Supply Chain Management (SCM) เพราะพันธกิจหลักของ SCM คือ การเคลื่อนย้ายส่งมอบสินค้าและต้องเป็นสินค้าที่จับต้องได้ (Physical Goods) ซึ่งสินค้าที่เป็นอิเล็กโทรนิกส์ ก็จะต้องมีการเคลื่อนย้ายผ่าน Media ไม่ว่าจะเป็น Disc , Server หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการจะเป็นส่วนควบที่คิดไปกับตัวสินค้า วัตถุประสงค์หลักของในการจัดการ Logistics คือ การสร้างความพึงพอใจต่อลูกค้า ที่เรียกว่า Efficient Consumers Response หรือ ECR โดยมีต้นทุนในการดำเนินงานในระดับ Economy Scale การที่เรากำหนดระดับสินค้าคงคลังในระดับที่มากจนเกินพอดี อาจดูปลอดภัยแต่ก็จะส่งผลให้ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนสูงเช่นกัน จึงต้องมีการจัดการสินค้าคงคลังให้เหมาะสม


ประเภทของสินค้าจัดแบ่งตามภาระกิจ ประกอบไปด้วย

1.สินค้าคงคลังหรือสินค้าหมุนเวียน (Current Stock) เป็นการสำรองสินค้า เพื่อให้มีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการทั้งเพื่อการผลิตและเพื่อการส่งมอบให้กับลูกค้า ร่วมถึงสินค้าที่ผลิตได้บางฤดูเท่านั้น จึงต้องมีการผลิตและเก็บรักษาไว้จำหน่ายตลอดปี

2.สินค้าที่อยู่ระหว่างกระบวนการผลิตภายในกระบวนการผลิตโรงงาน (Work-in-process Stock)

3.สินค้าคงคลังสำรอง (Safety/Buffer) เป็นการสำรองสินค้าซึ่งมีระยะเวลาในการส่งมอบ( Lead Time) เช่นสินค้า ซึ่งต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ

4.สินค้าระหว่างการขนส่ง (In-Transit) ซึ่งอยู่ในระหว่างเส้นทางการขนส่ง จากโรงงานของผู้ขายมายังโรงงานผลิต เช่น การขนส่งทางเรือ ซึ่งใช้เวลา ขนส่งจากผู้ผลิตไปสู่ลูกค้า ซึ่งอยู่คนละส่วนของทวีป หรือเก็บรักษาไว้ ณ คลังสินค้า หรือศูนย์กระจายสินค้า การขนส่งจากโรงงานไปยังลูกค้า

5.สินค้าคงคลังสำรองของ Suppliers หรือผู้จัดส่ง เป็นสินค้าคงคลังสำรองที่ผู้ขายสินค้าได้เก็บสำรองไว้ให้กับ ผู้ผลิต (ลูกค้า) เพื่อป้องกันความแปรผันของ Order ฉุกเฉินหรือป้องกันการผลิตที่ไม่ทันหรือป้องกันการจัดส่งไม่ทัน ซึ่งถือเป็นต้นทุนของผู้ขาย (Suppliers) โดยธรรมชาติก็จะมีการบวกเข้าไปในต้นทุนสินค้า ซึ่งก็จะกลายเป็นต้นทุนของผู้ซื้อในที่สุด


การดำเนินกิจกรรมของ Supply Chain ซึ่งมี Logistics เป็นหัวใจของการบริหารจัดการมุ่งไปสู่ Just in Time ที่ต้องมีการวางระบบการผลิต ให้มีประสิทธิภาพเชิงต้นทุนในการปรับเปลี่ยนการผลิตให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้ โดยเฉพาะต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงคลังไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูป จะมีผลต่อความสามารถในการแข่งขันการบริหารจัดการที่ดี โดยเฉพาะนำการจัดการแบบ Lean และนำระบบการจัดการข้อมูลข่าวสารที่ดี สามารถลดการลงทุน ในสินค้าคงคลังในด้านวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปโดยรวมของโซ่อุปทานได้ และ เพิ่มยอดขายได้มากขึ้น ก็จะส่งผลให้อัตราส่วนการ หมุนเวียนสินค้าคงคลังสูงขึ้นและเมื่อเกิดการลงทุนในสินค้าคงคลังลดลง ก็จะส่งผลให้อัตราส่วนผลตอบแทนการลงทุนสูงขึ้นได้ และต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาลดลงที่เรียกว่า Economy of Scale ต้นทุนการดำเนินงานจึงลดลงด้วย ซึ่งนำไปสู่การตั้งราคาที่ต่ำลงได้และเกิดความสามารถในการแข่งขัน (Core Competency)


ประโยชน์ของคลังสินค้า

1. ทำให้ต้นทุนของสินค้าลดลง

2. เป็นการป้องกันการขาดมือของสินค้าที่จะขาย

3. ช่วยลดปัญหาอันจะเกิดขึ้นเนื่องจากการขนส่ง

4. สามารถผลิตได้ในปริมาณเกินกว่าความต้องการตามฤดูกาล

5. ช่วยให้ได้ใช้สินค้านั้นๆ ได้ทันเวลาตามต้องการ

6. ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

7. ช่วยให้การผลิตดำเนินไปได้โดยปกติ

8. ช่วยให้เครดิตแก่อุตสาหกรรมหรือพ่อค้าที่มีทุนน้อย

9. ช่วยให้ราคาสินค้ามีเสถียรภาพ

10. ช่วยเก็บพักสินค้าชั่วคราวที่จะต้องส่งออกไปต่างประเทศอีกต่อหนึ่งในลักษณะของ Re-export


ขอบเขตในการดำเนินงานคลังสินค้า

1. รับฝากสินค้าโดยได้รับเงิน หรือค่าตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใด

2. ให้ผู้ฝากยืมเงินโดยเอาสินค้าที่ฝากไว้นั้นจำนำไว้เป็นประกัน

3. ให้บริการด้านความเย็นเพื่อเก็บรักษาสินค้า หรือด้วยกรรมวิธีอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ของผู้ฝาก

4. กระทำการซื้อขาย แลกเปลี่ยน เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการคลังสินค้า

5. รับมอบอำนาจจากผู้ฝากสินค้าให้กระทำตามแบบพิธีการของศุลกากรเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออก

6. นำเงินที่ได้รับจากการบริการไปลงทุนหาผลประโยชน์


เอกสารการคลังสินค้า

เอกสารในการขออนุญาตดำเนินกิจการการคลังสินค้า

1. แบบ ค.ส. 1 ใบคำขอรับความเห็นชอบเพื่อจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทประกอบกิจการคลังสินค้า

2. แบบ ค.ส. 2 ใบคำขออนุญาตประกอบกิจการคลังสินค้า

3. แบบ ค.ส. 3 ใบคำขอรับใบแทนใบอนุญาต

4. แบบ ค.ส. 4 ใบคำขออนุญาตจัดตั้งสาขาบริษัท

5. แบบ ค.ส. 5 ใบคำขอแจ้งชนิดและปริมาณสินค้า


เอกสารการรับและส่งมอบสินค้า

1. ใบนำส่งสินค้าเข้าเก็บในคลังสินค้า

2. ใบรับสินค้า

3. ใบรับคลังสินค้า (Warehouse Receipt)

4. ใบประทวนสินค้า


วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สุดยอดอาหารล้างพิษ

สุดยอด 20 อาหารล้างพิษ
คนโบราณและนักโภชนาการมักกล่าวว่า"อาหาร"เป็นยาที่วิเศษที่สุด เพราะเป็นแหล่งรวมของสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ใช่ว่าต้องเป็นอาหารที่มีราคาแพงอย่างเป๋าฮื้อ หูฉลาม รังนก หรือของหายากอย่างดีหมีเท่านั้น ถึงจะให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายได้ เพราะจากการศึกษาแล้วพบว่าอาหารที่เราหาได้ตามท้องตลาดในชีวิตประจำวันก็มีประโยชน์ในตัวไม่ใช่น้อย ที่สำคัญอาหารเหล่านี้ยังช่วยล้างพิษให้แก่อวัยวะต่างๆในร่างกาย เช่น ตับ ลำไส้ ไต ผิวหนัง ช่วยป้องกันการจับตัวของสารพิษ รวมถึงช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งสารพิษต่างๆที่สะสมอยู่ในร่างกายอาจมาจากควันพิษในอากาศ สารเจือปนในอาหาร เช่น สีผสมอาหาร สารกันเสีย ยาฆ่าแมลง ปรุงรส เป็นต้น คราวนี้ลองมาดูกันว่าอาหารชนิดใดสามารถช่วยล้างพิษให้คุณได้บ้าง


เริ่มจาก ลำดับที่ 20 สาหร่าย พืชสีเขียวในทะเลที่หลายคนมองข้ามคุณประโยชน์ แต่จากการศึกษาของ Mcgill University ที่ Montreal แสดงผลว่าสาหร่ายสามารถจับของเสียจากรังสีที่สะสมในร่างกาย
ในปัจจุบันเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงรังสีต่างๆจากคลื่นวิทยุ คลื่นโทรศัพท์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นไมโครเวฟทั้งหลายได้ ซึ่งพลังงานความร้อนเหล่านี้เป็นอันตรายต่อร่างกาย ก่อให้เกิดมะเร็งได้ ซึ่งสาหร่ายจะช่วยดูดซึมคลื่นรังสีเหล่านั้น และสามารถจับกับพวกโลหะหนักได้ด้วย นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยโปรตีนและเกลือแร่ในปริมาณมาก

19. หัวหอม ประกอบไปด้วยสารต่อต้านมะเร็งหลายชนิด และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยทำความสะอาดเลือด ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล LD ซึ่งไม่ดีเพราะเป็นตัวการก่อให้เกิดโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ระบบทางเดินหายใจทำงานดีขึ้น ช่วยรักษาโรคหอบ โรคทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ และที่สำคัญคือช่วยรักษาโรคเบาหวานโดยช่วยให้ระดับน้ำตาลคงที่


18. มะนาว เป็นสุดยอดอาหารที่ช่วยทำความสะอาดตับ มีวิตามินซีสูง น้ำมะนาวสดเมื่อนำมาผสมกับน้ำอุ่นแล้วดื่มตอนเช้าหลัง ตื่นนอนจะช่วยล้างพิษและทำให้เลือดสะอาดขึ้น แต่ถ้านำน้ำมะนาวสดผสมกับโยเกิร์ตและน้ำผึ้ง ก็จะเป็นอาหารที่ช่วยล้างพิษใน ลำไส้และป้องกันอาการท้องผูกได้อีกด้วย





17. เมล็ดแฟลกซ์ ประกอบไปด้วยกรดไขมันที่จำเป็น อย่างโอเมกา 3 ซึ่งมีประโยชน์ต่อสมอง ช่วยบำรุงความจำ และมีผลดีต่อหัวใจเพราะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล นอกจากนี้ยังมีสารอื่นที่ช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันร่างการแข็งแรงขึ้น







16. กระเจี๊ยบ น้ำกระเจี๊ยบมีคุณสมบัติช่วยทำความสะอาดแบคทีเรียและไวรัสออกจากระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งมักก่อให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้มีอาการปัสสาวะไม่ออกหรือมีเลือดปน หรือมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ซึ่งสารในกระเจี๊ยบสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสเหล่านั้นได้

15. ทับทิม ตำราแพทย์แผนโบราณของชาวเอเชียกล่าวไว้ว่า การดื่มน้ำทับทิมสามารถรักษาอาการอักเสบและลดความปวดได้ เนื่องจากในผลทับทิมมีสารแอสไพรินซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกันกับแอสไพรินในยาแก้ปวด ช่วยล้างพิษ ลดการติดเชื้อของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย และลดอาการอักเสบ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการไขข้ออักเสบ ปวดบวม ช้ำ แนะนำให้กินทับทิม เพราะช่วยลดอาการปวดลงได้ ขณะเดียวกันยังมีไฟเบอร์สูง ซึ่งช่วยให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายได้ดีขึ้น


14. พืชตระกูลถั่ว (เช่นถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และถั่วขาว) จากการศึกษาพบว่าผู้ที่กินถั่วเป็นประจำมีระดับคอเลสเตอรอลน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้กิน และลดอัตราความเสียงต่อการเกิดโรคหัวใจด้วยพืชตระกูลถั่วนี้ประกอบด้วยไฟเบอร์สูง ซึ่งช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ทำความสะอาดลำไส้ ลดการสะสมของสารพิษในลำไส้ และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ อีกทั้งช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้และมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย


13. ขึ้นฉ่าย ถือว่าเป็นสุดยอดอาหารในการทำความสะอาดเลือดและช่วยลดความดันโลหิต สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรกินขึ้นฉ่ายเป็นประจำ หรือถ้าจะให้ดีควรดื่มน้ำคั้นจากขึ้นฉ่ายสดในตอนเช้า เพื่อช่วยควบคุมระดับแรงดันเลือดให้คงที่ ในขึ้นฉ่ายยังประกอบไปด้วยสารต้านการเกิดมะเร็ง และสารที่ช่วยขับของเสียจากบุหรี่ในคนที่สูบบุหรี่หรือผู้ที่ได้รับควันบุหรี่ด้วย



12. แครอท เต็มไปด้วยสารอัลฟาและเบตาแคโรทีน (Alpha and Beta-carotene) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิตามินเอ และถือว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีเยี่ยมช่วยปกป้องร่างกายจากสารพิษในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะช่วยระบบทางเดินประสาท สายตา ผิวหนัง ที่ต้องสัมผัสแสงแดเป็นประจำ และจากการวิจัยพบว่าสารในแครอตช่วยลดการเกิดมะเร็ง และช่วยทำให้ระบบทางเดิน หายใจและหัวใจแข็งแรงขึ้น


11. มะเขือพวง คนไทยนิยมใส่มะเขือพวงในอาหารประเภท ผัดเผ็ด แกงป่า แกงกะทิ และน้ำพริก สมัยก่อนแกงกะทิเช่นแกงไก่ ใส่มะเขือพวงเต็มไปด้วย ใส่ไก่น้อยเน้นการกินมะเขือเป็นหลักแต่ปัจจุบันกลับตรงกันข้าม แกงไก่มักใส่ไก่มากกว่ามะเขือ และคนก็เลือกกินแต่ไก่ จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้คนในปัจจุบันมีรูปร่างอ้วนกว่าคนสมัยก่อน มะเขือพวงเป็นผักที่เต็มไปด้วยไฟเบอร์ ซึ่งสามารถช่วยดูดซึมไขมันในอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยจับไขมันอิ่มตัว (ไขมันอันตราย) และขับออกจากร่างกายโดยระบบขับถ่าย ทั้งยังมีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงช่วยกำจัดของเสียออกจาก ระบบทางเดินอาหารได้เร็วขึ้นและลดการสะสมของเสีย


10. ส้มโอ หรือเกรปฟรุต เพราะเป็นผลไม้รสชาติดีจึงได้รับความนิยมในอาหารมื้อเช้าของชาวตะวันตก สารเพกตินซึ่งเป็น ไฟเบอร์ประเภทหนึ่งในเกรปฟรุต สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ก่อนที่จะจับตัวเป็นก้อนและขวางทางเดิน ในหลอดเลือด นอกจากนี้เพกตินยังสามารถช่วยป้องกันไม่ให้โลหะหนักเหล่านี้ทำอันตรายต่อร่างกาย ส่วนเกรปฟรุตช่วยต่อ ต้านการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งกระเพราะอาหารและมะเร็งตับอ่อน สารต้านอนุมูลอิสระในเกรปฟรุตช่วยปกป้อง สารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย





9. กระเทียม จากหลายการศึกษาให้ผลตรงกันถึงคุณสมบัติของกระเทียมในการทำความสะอาดร่างกาย นั่นคือ การกินกระเทียม เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับและฆ่าพยาธิในทางเดินอาหาร และฆ่าเชื้อไวรัส โดยเฉพาะทำความสะอาดเลือดและระบบลำไส้ ทำให้ เส้นเลือดมีความยืดหยุ่นและลดแรงดันโลหิต นอกจากนี้ยังต่อต้านการเกิดมะเร็งและทำให้ระบบทางเดินหายใจดีขึ้น แต่ก็ควรระวังเรื่องการกินกระเทียมมากเกินไป ซึ่งก่อให้เกิดลมหายใจที่มีกลิ่นกระเทียมไปด้วย


8. บลูเบอร์รี่ เป็นผลไม้ที่มีค่าแอนติออกซิแดนต์สูงมากชนิดหนึ่งและถือเป็นหนึ่งในสุดยอดอาหารรักษาโรค เนื่องจากในบลูเบอร์รี่ มีสารแอสไพรินตามธรรมชาติ ซึ่งช่วยลดการระคายเคือง สารที่มีในบลูเบอร์รี่สามารถเข้าไปขัดขวางแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ ส่งผลให้ลดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ


7. กะหล่ำ เต็มไปด้วยสารต่อต้านมะเร็งและอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และช่วยตับขับฮอร์โมนที่มากเกินไป ซึ่งอาจเป็น ฮอร์โมนความเครียดที่มีผลเสียต่อร่างกาย ทั้งยังช่วยทำความสะอาดระบบย่อยอาหาร รักษาและปกป้องกระเพราะอาหารจากแบคทีเรียและไวรัสต่างๆ พืชตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี และกะหล่ำปม ผักเหล่านี้ช่วยทำความ สะอาดร่างกายและช่วยกำจัดของเสียจากสิ่งแวดล้อม เช่น ของเสียจากควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสีย และช่วยให้ตับผลิตเอนไซม์ออกมาให้เพียงพอในการกำจัดของเสีย



6. บีรูท ผักสีแดงที่นิยมใส่ในสลัดนี้นับเป็นผักมหัศจรรย์ซึ่งเประกอบไปด้วยไฟโรเคมีคอล (Phytochemical) วิตามินและ เกลือแร่หลายชนิด ซึ่งทำให้บีตรูตมีคุณสมบัติต่อต้านชื้อโรค ทำความสะอาดเลือด ตับและระบบน้ำเหลือง อีกทั้งมีคุณสมบัติ ช่วยให้ร่างกายรับออกซิเจนได้มากขึ้น จึงช่วยกำจัดของเสียได้ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งจากกการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่าบีตรูต ช่วยปรับระดับกรด-ด่างในเลือดให้สมดุลด้วย


5. อะโวคาโด อาจยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ปัจจุบันเราก็สามารถหาซื้ออะโวคาโดได้จากตลาดทั่วไป ในอะโวคาโดมีสารกลู ตาไทโอน(Glutathione) ที่สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลและป้องกันหลอดเลือดอุดตัน ทำให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่น ทั้งช่วยจับสารพิษที่เป็นตัวก่อให้เกิดมะเร็งกว่า 30 ชนิด และขณะเดียวกันก็ช่วยให้ตับกำจัดของเสียจำพวกสารเคมีและโลหะหนัก ซึ่งนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน (University of Michigan) พบว่าผู้สูงอายุซึ่งกินอาหารที่มีสารกลูตาไทโอนสูงจะมีสุขภาพ ดีกว่าคนที่ไม่ได้กิน และมีอัตราการเกิดโรคหัวใจน้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์





4. ตำลึง ผักใบเขียวที่ขึ้นข้างรั้วหาง่าย และราคาไม่แพงนี้ ในสมัยก่อนเรามักนำมาทำแกงจืดตำลึงโดยใสเนื้อสัตว์น้อยๆ แต่ปัจจุบันดูเหมือนว่าแกงจืดตำลึงจะมีตำลึงอยู่ไม่กี่ใบ และมีหมูสับเต็มไปหมด ซึ่งตำลึงมีคุณสมบัติ ช่วยผลิตน้ำดีที่จะทำให้ลำไส้ขับสารพิษออกจากร่างกายได้ดีขึ้น นอกจากนี้สารที่มีอยู่ในตำลึงยังช่วยให้ตับสลายไขมันในร่างกายด้วย


3. แอปเปิ้ล ประกอบไปด้วยเพกตินสูง เพกตินเป็นไฟเบอร์ชนิดหนึ่งที่ช่วยจับคอเลสเตอรอลและโลหะหนักในร่างกายที่ปะปนมากับอาหาร เช่น ปรอท ตะกั่ว ซึ่งทำลายเซลล์สมอง นี่คือเหตุผลที่เราควรจะกินแอปเบิลเพื่อล้างสารพิษออกจากร่างกาย นอกจาก นี้ยังมีคุณประโยชน์ช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็ง ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส จากการศึกษาทดลองยังพบว่าแอปเปิลช่วยขับสาร เคมีที่ปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งก่อให้เกิดอาการแพ้ในเด็ก และทำให้เกิดไมเกรนในผู้ใหญ่ได้


2. อัลมอนด์ เป็นถั่วที่มีใยอาหารสูง มีแคลเซียมและโปรตีนที่ดีต่อร่างกาย แม้จะมีไขมัน แต่ก็เป็นไขมันที่ดีและจำเป็นต่อร่างกาย ในระหว่างที่เราทำการล้างพิษจึงควรกินอัลมอนด์ นอกจากนี้อัลมอนด์ยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงก็จะเกิดอาการไฮเปอร์ไกลซีเมีย (Hyperglycemia) ทำให้รู้สึกหิวน้ำมากกว่าปกติ หายใจไม่ออก ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และหากน้ำตาลในเลือดต่ำที่เรียกว่า ไฮโปไกลซีเมีย(Hypoglycemia)จะทำให้เกิดอาการหน้ามืด เป็นลม ใจสั่น ไม่มีแรง คิดอะไรไม่ออก


1. กล้วย มีคุณสมบัติในการบำรุงและสร้างความแข็งแรงแก่กระเพาะอาหาร ในขณะเดียวกันก็ให้เกลือแร่ที่จำเป็นแก่ร่างกาย เช่น โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมช่วยควบคุมระดับของเหลวในร่างกายโดยช่วยขับของเหลว หรือสารพิษส่วนเกิออกจาก ร่างกายโดยช่วยขับของเปลว หรือสารพิษส่วนเกินออกจากร่างกายได้ดีขึ้น การกินกล้วยเป็นประจำยังช่วยป้องกันท้องผูก ทำให้ ระบบขับถ่ายเป็นปกติอีกด้วย


นี่คือความสุดยอดของบ้านเมืองเรา.....ซึ่งบ้านเมืองอื่น..แอบอิจฉา